ชื่องาน : สัมมนาสาธารณะ “เทคโนโลยีและสังคม” เรื่อง “บริการออนไลน์ไทยปลอดภัยแค่ไหน?: มาตรการทางกฎหมายและทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการจัดเก็บและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศไทย”
รายละเอียด :
วันเวลา : จันทร์ 22 ธ.ค. 13:00-17:00
สถานที่ : ห้องประชุม 101 ตึกคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
เพิ่มเติม :
13:00 – 13:15 เปิดงาน
13:15–13:45 ผลการศึกษา “มาตรการคุ้มครองความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวออนไลน์ไทย”
นำเสนอโดย ธิติมา อุรพีพัฒนพงศ์ โครงการความเป็นส่วนตัวออนไลน์ เครือข่ายพลเมืองเน็ต
13:45–14:45 อภิปรายผลการศึกษาและให้ความเห็นเกี่ยวกับกฎหมายและมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคออนไลน์
วิทยากร
– สุดา วิศรุตพิชญ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– ฐิติรัตน์ ทิพยสัมฤทธิกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงทางคอมพิวเตอร์*
ดำเนินรายการ อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล เครือข่ายพลเมืองเน็ต
14:45–15:00 พักอาหารว่าง
15:00–16:45 เสวนา “ความจำเป็นของการมีกฎหมายดักรับข้อมูลเพื่อใช้ในการอำนวยความยุติธรรม”
วิทยากร
– กฤษฎา แสงเจริญทรัพย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
– คณาธิป ทองรวีวงศ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
– ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ** กองกฎหมาย สำนักงานกฎหมายและคดี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ดำเนินรายการ อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล เครือข่ายพลเมืองเน็ต
16:45–17:00 ปิดงาน
* กำลังติดต่อ
** รอการยืนยัน
—-
## หลักการและเหตุผล
ทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตมีบทบาทในชีวิตของคนไทยมากขึ้น ทั้งการสื่อสารทางโทรศัพท์มือถือและแอปสนทนาต่างๆ การซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ และการเข้าถึงบริการของภาครัฐผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประโยชน์ในการให้บริการต่างๆ ดังกล่าว ผู้ให้บริการมีความจำเป็นที่จะต้องจัดเก็บและ/หรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลบางประการ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นการทั่วไป อีกทั้งในภาคอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตของไทยก็ยังไม่มีมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับร่วมกันเมื่อกล่าวถึงมาตรการในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เกี่ยวกับข้อมูลของผู้ใช้บริการ ทำให้มีกรณีข้อมูลรั่วไหลหรือกรณีละเมิดสิทธิส่วนบุคคลออนไลน์ลักษณะเดียวกันเกิดขึ้นซ้ำๆ โดยไม่มีการแก้ไขในช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการละเมิดโดยภาครัฐหรือเอกชน และโดยตั้งใจหรือโดยประมาทก็ตาม
ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2555 – พฤศจิกายน 2557 โครงการวิจัยความเป็นส่วนตัวออนไลน์ เครือข่ายพลเมืองเน็ต ได้สำรวจมาตรการรักษาความปลอดภัยและการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวผู้ให้บริการออนไลน์ในประเทศไทยจำนวน 45 เว็บไซต์ (จำแนกออกเป็นหน่วยงานรัฐ, ธนาคาร, สถาบันอุดมศึกษา, ซื้อขายสินค้า, บริการขนส่งสาธารณะ, และบริการรับสมัครงาน) ในระดับเบื้องต้น เพื่อเป็นข้อมูลแก่ผู้ใช้ทั่วไปได้พิจารณาและเพื่อกระตุ้นผู้ให้บริการให้ตระหนักมากขึ้นถึงความสำคัญของการรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้บริการ การศึกษาดังกล่าวพบข้อค้นพบน่าสนใจหลายประการ ซึ่งรวมถึงอุปสรรคในการสำรวจและความเหมาะสมของตัวชี้วัด
ในวาระที่โครงการวิจัยดังกล่าวใกล้จะสรุปผลการวิจัย และเตรียมการดำเนินงานในขั้นต่อไป เครือข่ายพลเมืองเน็ตจึงถือเป็นโอกาสอันดีในการเผยแพร่งานวิจัยนี้และจัดให้มีการสัมมนาเกี่ยวกับกฎหมายและกลไกการกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่มีอยู่และกำลังอยู่ในการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจกับสาธารณะถึงความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและสังคมของความเป็นส่วนตัว และเพื่อร่วมกันหาแนวทางการคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวต่อไป
## วัตถุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่ผลการประเมินระดับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของผู้ให้บริการออนไลน์ไทย
2. เพื่อเป็นเวทีสาธารณะในการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวออนไลน์
3. เพื่อเป็นเวทีสาธารณะในการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องมาตรการทางกฎหมายและทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการจัดเก็บและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศไทย
## ผู้รับผิดชอบโครงการ