เสนอรายงาน “ถ่านหินสะอาด-ความมั่นคงพลังงาน-วิกฤตโลกร้อน”

ชื่องาน : เสนอรายงาน “ถ่านหินสะอาด-ความมั่นคงพลังงาน-วิกฤตโลกร้อน”

รายละเอียด :

** บริบท **
ในการประชุมภาคีครั้งที่ 20 (COP20) ภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ที่ประเทศเปรูระหว่างวันที่ 9-12 ธันวาคม ที่จะถึงนี้ รัฐบาลไทยมีแผนที่จะประกาศเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตาม “แนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ (NationallyAppropriate Mitigation Actions: NAMAs)” ซึ่งเป็นการประกาศเป้าหมายโดยสมัครใจ ตามข้อตกลงโคเปนเฮเกน (Copenhagen Accord) ที่มีขึ้นจากการประชุม COP ครั้งที่ 15 เมื่อปี 2009
ทั้งนี้ เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่รัฐบาลไทยจะไปประกาศคือ 7% ภายใน 2020 (จากปีฐาน 2005) ในภาวะปกติ และ 20% หากมีการช่วยเหลือจากต่างประเทศ … อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าวยังไม่ค่อยเป็นที่รับรู้และยังไม่ได้รับการถกเถียงกันในวงกว้างในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นที่ว่ารัฐบาลไทยจะมีมาตรการอย่างไรเพื่อให้บรรลุการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามเป้าหมายดังกล่า และใคร ในภาคส่วนไหน จะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายฯ
ขณะเดียวกันในช่วงสองปีที่ผ่านมา กระทรวงพลังงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เริ่มดำเนินการปรับแก้แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP: Power Development Plan) ซึ่งฉบับที่ประกาศใช้ล่าสุดตั้งแต่ปี 2555 คือ PDP2010 แก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 3 ซึ่งในการนี้ กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกาศเจตจำนงค์อย่างชัดเจนที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มขึนอีก 10,000 เมกกะวัตต์ ด้วยเหตุผลว่า ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงราคาถูก ก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักของการผลิตไฟฟ้าของประเทศในขณะนี้กำลังจะหมดไปและมีราคาแพงขึ้น จึงต้องเพิ่มการใช้ถ่านหินเพื่อเพิ่มความมั่นคงทางด้านการผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศ
การผลักดันพลังงานถ่านหินในทางนโยบายนี้ ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเชื่อมโยงกับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยอย่างไร
ในขณะเดียวกัน ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ภาคอุตสาหกรรมและหน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่ผลักดันการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินอย่าง กฟผ. ก็เร่งโปรโมต “ถ่านหินสะอาด” ว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่จะทำให้การผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินสะอาดขึ้น และเร่งการประชาสัมพันธ์ทั้งในสื่อหลักต่างๆ และในชุมชนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อเทคโนโลยีใหม่นี้ แต่ประชาชนจากพื้นที่เป้าหมายการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศเริ่มส่งเสียงคัดค้านโครงการเหล่านี้ พร้อมกับที่เรายังได้ยินข่าวว่าผู้ได้รับผลกระทบจากเหมืองลิกไนต์และโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ ซึ่งเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนที่สุดของการใช้พลังงานถ่านหินของไทยในระยะเวลา 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ยังไม่ได้รับความเป็นธรรมในแง่การชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
** วัตถุประสงค์ **
การเสวนาในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อชวนผู้เข้าร่วมมาสำรวจประเด็นที่มีนัยยะสำคัญต่อการผลักดัน “ถ่านหินสะอาด” ในฐานะคำตอบของความมั่นคงพลังงานไทย ภายใต้บริบทแรงกดดันระดับโลก นั่นคือสถานการณ์วิกฤตโลกร้อนที่กำลังระอุขึ้นเรื่อยๆและทำให้ทั่วโลกกำลังหันหลังให้กับพลังงานถ่านหิน รวมถึงบริบทแรงกดดันจากท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ ที่ไม่ยอมแลกความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพของชุมชน กับมลพิษที่จะเกิดจากการผลิตพลังงานด้วยเชื้อเพลิงถ่านหิน
** กำหนดการ **
13.00-14.00 Pre-screening สารคดี “แม่เมาะ – ถ่านหินสะอาดและความมั่นคงทางพลังงาน”
14.00-15.00 นำเสนอรายงาน “ถ่านหินสะอาด-ความมั่นคงพลังงาน-วิกฤตโลกร้อน”
ผู้นำเสนอ:
ฝ้ายคำ หาญณรงค์         คณะทำงานโลกเย็นที่เป็นธรรม (Thai Climate Justice)
สันติ โชคชัยชำนาญกิจ   กลุ่มจับตาพลังงาน (Energy Watch)
เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์        กลุ่มนิเวศน์วัฒนธรรมศึกษา
ดำเนินรายการ:
กุลธิดา สามะพุทธิ          ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม
15.00-16.00 ถาม-ตอบ
** องค์กรร่วมจัด **
คณะทำงานโลกเย็นที่เป็นธรรม [ThaiClimateJustice]
ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม [GreenNewsTV]

วันเวลา : วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม 2557 * เวลา 13.00-16.00 น.

สถานที่ :

Ma:D Hub for Social Entrepreneurs (มาดี)
เอกมัย ซอย 4 (BTS เอกมัย ทางออกที่ 1)
https://www.facebook.com/madeehub
แผนที่ Google Map: http://goo.gl/maps/3AnFd

เพิ่มเติม :\

15919557316_93743838ca_b