Calendar of Events

Event List Calendar

August 14, 2014

ส่องโลกออนไลน์: ความปลอดภัย นโยบาย และทิศทางการพัฒนา

ชื่องาน : ส่องโลกออนไลน์: ความปลอดภัย นโยบาย และทิศทางการพัฒนา

รายละเอียด :

เครือข่ายพลเมืองเน็ตเปิดเวทีแลกเปลี่ยนและเสนอแนะนโยบายการกำกับดูแลและส่งเสริมอินเทอร์เน็ตทั้งในส่วนของเนื้อหาและโครงสร้างพื้นฐาน

1. “บริการออนไลน์ไทย ปลอดภัยแค่ไหน”
การนำเสนอผลการสำรวจมาตรการรักษาความปลอดภัยและการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวผู้ให้บริการออนไลน์

โครงการวิจัยความเป็นส่วนตัวออนไลน์ เครือข่ายพลเมืองเน็ต ทดลองสำรวจมาตรการรักษาความปลอดภัยและการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวผู้ให้บริการออนไลน์ต่างๆ ของประเทศไทยในระดับ ‘เบื้องต้น’ ครั้งที่ 1 จำนวน 50 เว็บไซต์เพื่อเป็นข้อมูลแก่ผู้ใช้ทั่วไปในการตัดสินใจใช้บริการต่างๆ และเพื่อกระตุ้นผู้ให้บริการออนไลน์ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการปกป้องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้บริการมากขึ้น เพื่อให้ผลการสำรวจนี้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ทั้งผู้ประกอบการ หน่วยงานต่างๆ รวมถึงผู้ใช้บริการ นอกจากการรับฟังข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาวิธีประเมินความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของเว็บไซต์แล้ว การแถลงผลการสำรวจครั้งนี้ยังเป็นโอกาสที่ดีในการอภิปรายและแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสถานการณ์ความปลอดภัยของบริการออนไลน์ต่างๆ ของไทยในปัจจุบัน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยออนไลน์ไทยให้ดีขึ้น

2. รายงานสถานการณ์และความเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายอินเทอร์เน็ตในรอบ 2 เดือน

สืบเนื่องจากในช่วงเวลาสองเดือนที่ผ่านมา มีแผนงานและความเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายจำนวนมาก ที่ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับปรุงการดำเนินงานและประเมินใหม่เกี่ยวกับอนาคตของโครงสร้างพื้นฐานและสื่ออินเทอร์เน็ต รวมถึงปัจจุบัน มาตรา 27 ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว กำหนดให้มีสภาปฏิรูปแห่งชาติมีหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปในด้านต่างๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นมีหัวข้อ “สื่อสารมวลชน” รวมอยู่ด้วย เครือข่ายพลเมืองเน็ตจึงได้จัดงานเสวนาในหัวข้อ “ทิศทางปฏิรูปสื่ออินเทอร์เน็ต ภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่” เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเสนอแนะเกี่ยวกับนโยบายการกำกับดูแลและส่งเสริมอินเทอร์เน็ตทั้งในส่วนของเนื้อหาและโครงสร้างพื้นฐาน และเพื่อนำประโยชน์จากข้อแลกเปลี่ยนและข้อเสนอแนะที่ได้มาต่อยอด ศึกษาวิจัย และพัฒนาสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อไปในอนาคต

### กำหนดการ ###

9:30 – 10:00 ลงทะเบียน

10:00 – 10:20 เสนอรายงานผลสำรวจมาตรการรักษาความปลอดภัยและคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของเว็บไซต์ไทยระยะที่ 1 และความก้าวหน้าของโครงการระยะที่ 2
โดย ธิติมา อุรพีพัฒนพงศ์ โครงการวิจัยความเป็นส่วนตัวออนไลน์ เครือข่ายพลเมืองเน็ต

10:20 – 12:00 สัมมนาวิชาการหัวข้อ “มาตรฐานความปลอดภัยของเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการขยายตัวของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์”
– ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง คณะอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสื่อและโทรคมนาคม
– อรรณพ สุวัฒนพิเศษ (ฟอร์ด; @FordAntiTrust) บล็อกเกอร์ด้านไอทีเว็บไซต์ thaicyberpoint.com
– ธชทัต นันทภัควงษ์ กรรมการสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย และผู้บริหารบริษัท MOL ประเทศไทย
– ผู้แทนจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) (อยู่ในระหว่างการติดต่อ)
ดำเนินรายการสัมมนาโดย ธิติมา อุรพีพัฒนพงศ์

12:00 – 13:00 รับประทานอาหารกลางวัน

13:00 – 13:20 นำเสนอรายงานสถานการณ์และความเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายอินเทอร์เน็ตในรอบ 2 เดือน
โดย อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล เครือข่ายพลเมืองเน็ต

13:20 – 15:30 เสวนาหัวข้อ “ทิศทางปฏิรูปสื่ออินเทอร์เน็ต ภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่”
– รศ.สุธรรม อยู่ในธรรม คณบดีคณะนิติศาสตร์ และประธานสถาบันวิชาการนโยบายสาธารณะกับธุรกิจและการกำกับดูแล มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (อยู่ระหว่างการติดต่อ)
– นิรันดร์ เยาวภาว์ กรรมการที่ปรึกษาสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์
– อนันต์ แก้วร่วมวงศ์ นายกสมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไทย
– อาจิน จิรชีพพัฒนา ผู้อำนวยการสำนักนโยบายยุทธศาสตร์ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
– ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) (อยู่ในระหว่างการติดต่อ)
ดำเนินรายการเสวนาโดย พิณผกา งามสม บรรณาธิการสำนักข่าวประชาไท

วันเวลา : 14 ส.ค. 2557 09.30-15.30

สถานที่ : สมาคมนักข่าวฯ ห้องประชุมชั้น 3

เพ่ิมเติม :

Start: August 14, 2014
End: August 14, 2014

August 10, 2014

‘เควียร์’ , ความรู้ของยายและย่า, ‘Body, Beauty and Dress’(และอื่นๆ)ในมุมมองสตรีนิยม

ชื่องาน : ‘เควียร์’ , ความรู้ของยายและย่า,‘Body, Beauty and Dress’(และอื่นๆ)ในมุมมองสตรีนิยม

รายละเอียด :

I ‘เควียร์’ กับ ประเด็นปัญหาคาใจ

·  ไต่ถามเจ้าหญิงดิสนีย์ (ไม่)เสรีนิยม: เสรีภาพ สตรีนิยม และ “อสูร” – ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง

·  สังคมไทยคิดอย่างไรกับเพศที่สาม: ศึกษาผ่านบทแปลและการพากษ์ใน ฮาร์วี่ย์ มิลค์ : ผู้ชายฉาวโลกธนพิชญ์ เพชรมุณี

·  เพศที่สามกับห้องน้ำสาธารณะ – ธีรวัฒน์ ช่วยดำ

·  นิยายชุด “สายลับจับแอ๊บ”: อุดมการณ์รักต่างเพศกับการผลิตซ้ำภาพแทนคนรักเพศเดียวกันของนักเขียนหญิง – ธงชัย แซ่เจี่ย

·  บุคคลเพศหลากหลายกับพื้นที่ลัทธิความเชื่อ : ศึกษากรณี “งานแห่เจ้าแม่วัดแขก -จุลศักดิ์  แก้วกาญจน์

II ย้อนกลับมา ‘อ่าน’ ใหม่: องค์ความรู้ (ที่ถูกลืม) ของยายและย่า (+กฏหมายตราสามดวง)

    ·  เนอสเซอรีชุมชนของคุณยายไทญ้อ – มัตตัญญู เมฆสวัสดิ์

·  คุณยายของฉันขายผักที่ปากคลองตลาด – สุพิชฌาย์  ตันชัยสวัสดิ์

·  (จดหมายเหตุของ) ‘ย่า’: หญิงขายผ้าชาวไทย/จีน กับ ความเปลี่ยนแปลงของผู้คนและพื้นที่ชายแดนใต้  – ศุภกิตด์ โตประเสริฐ

·  (ฝึก)อ่านกฎหมายตราสามดวงจากมุมมองสตรีนิยม  – รัศมี  ไวยเนตร

III นิยายรักวัยรุ่น   แฟนคลับเกาหลี  และศัลยกรรม : พื้นที่แห่งความงาม และความรุนแรง

·         (การผลิตซ้ำ และ) ความไม่หลากหลายของภาพเสนอ “หญิง-ชาย” ในนิยายรักวัยรุ่น – กาญจนา เหล่าโชคชัยกุล

·         เสียงกรี๊ดที่ไม่ได้ยิน [ของแฟนคลับเกาหลี] : ชีวิต ตัวตน สังคม … ฉันควรจะไปทางไหน (ดี) ? – อัจฉราภรณ์ ทองแฉล้ม

·         ศัลยกรรมความงาม: ความรุนแรงที่ผู้หญิง (ถูก และ/หรือ ‘เลือก’) กระทำต่อตัวเอง ?  – รุ่งทิพย์ นธีทิพย์

·         เสียง’จากสาวพริตตี้:“ใช้แค่เรือนร่างทำมาหาเงิน” จริงหรือ?  – กาญจนา จงวิลัยวรรณ

IV ‘Body, Beauty และ Dress’ จากมุมมองสตรีนิยม

·  “ ขน” กับเพศสถานะ ในงานศิลปะและสื่อ – บารมี สมาธิปัญญา

·  ภาพลักษณ์ของนักแสดง ภาพตัวแทนความงามอาเซียน – วรวุฒิ เครือแก้ว

·  อัตลักษณ์ของตัวแทนนางงามไทยในการประกวดนางงามจักรวาล และนางงามโลก ปี 2014 – อนัตตา การุณ

·  เครื่องแต่งกายในฐานะพื้นที่อำนาจของผู้หญิง กรณีศึกษานางในราชสำนักสมัย ร.5 – อรรถ บุนนาค

 

วันเวลา : 10 สิงหาคม เวลา 9:00 – 16:00 น.

สถานที่ : ห้อง 103 คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

เพ่ิมเติม :

โครงการปริญญาโท สตรี เพศสถานะ และเพศวิถีศึกษา วิทยาลัยสหวิทยาการ  อาคารอเนกประสงค์ 1 ชั้น 7

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์  เลขที่  2  ถนนพระจันทร์  เขตพระนคร  กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์ 094 098 1545, 0 2613 2860 โทรสาร 0 2222 0150

e-mail:wgsspsummerschool2014@gmail.comhttp://www.facebook.com/wgsspwebsite: http://ci.tu.ac.th

 

 

Start: August 10, 2014
End: August 10, 2014

แอมเนสตี้ฯ ประเทศไทย รณรงค์หยุดส่งอาวุธสงครามไปให้อิสราเอล-ปาเลสไตน์ 10 สิงหาคมนี้ที่สวนจุตจักร

ชื่องาน : แอมเนสตี้ฯ ประเทศไทย รณรงค์หยุดส่งอาวุธสงครามไปให้อิสราเอล-ปาเลสไตน์ 10 สิงหาคมนี้ที่สวนจุตจักร

10483282_906340096059750_7888533949127661747_n

รายละเอียด :

ข้อมูลพื้นฐาน
จากเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์ที่ได้ปะทุขึ้นอย่างรุนแรงเมื่อกรกฎาคมที่ผ่านมา ภายหลังการฆาตกรรมวัยรุ่นชาวอิสราเอลสามคน ซึ่งตามมาด้วยการสังหารเยาวชนชาวปาเลสไตน์ทำให้ความตึงเครียดพุ่งทะยานขึ้นอย่างรวดเร็วรวมทั้งการต่อสู้ด้วยยุทโธปกรณ์ได้ปะทุขึ้นอีกครั้ง
ปัจจุบันสถานการณ์ได้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดเผยว่าการโจมตีที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องได้ส่งผลกระทบต่อที่อยู่อาศัยของพลเรือนในฉวนกาซ่ารวมถึงโรงพยาบาลถือเป็นอาชญากรรมสงคราม ซึ่งเรื่องนี้ต้องได้รับการสืบสวนสอบสวนอย่างทันท่วงทีตามพันธกรณีระหว่างประเทศขององค์การสหประชาชาติ ทั้งเรียกร้องให้ทุกประเทศต้องระงับการส่งอาวุธและเครื่องมือทางการทหารให้กับอิสราเอล กลุ่มฮามาส และกลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์ในฉนวนกาซ่าด้วย
ที่ผ่านมาแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ร่วมกับนักกิจกรรมจากทั่วโลกรณรงค์หยุดยั้งความรุนแรงต่อผู้บริสุทธิ์ด้วยการเขียนคำว่า “หยุด” ในภาษาใดก็ได้ลงบนฝ่ามือ แล้วถ่ายภาพและอัพโหลดภาพนั้นขึ้นสู่หน้าเฟซบุ๊กพร้อมติดสัญลักษณ์ #CiviliansUnderFire และ #AmnestyThailand ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสมาชิกและนักกิจกรรมในประเทศไทย

วันเวลา : วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม 2557 เวลา 14.30 น.  เป็นต้นไป

สถานที่ : สถานีรถไฟใต้ดิน MRT กำแพงเพชร (ทางออกไปสวนจตุจักร)

เพ่ิมเติม : https://www.facebook.com/AmnestyThailand 

Start: August 10, 2014
End: August 10, 2014

August 9, 2014

เสวนา“ความมั่นคง ความยั่งยืนของระบบหลักประกันสุขภาพ :ระบบการเงินการคลังที่เป็นธรรมเหมาะสมกับสังคมไทย”

ชื่องาน : เสวนา“ความมั่นคง ความยั่งยืนของระบบหลักประกันสุขภาพ :ระบบการเงินการคลังที่เป็นธรรมเหมาะสมกับสังคมไทย”

รายละเอียด :

ผู้ร่วมอภิปราย

ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา      สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ)

นพ.วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร     ที่ปรึกษาสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศกระทรวงสาธารณสุข

ดร.คณิศ แสงสุพรรณ           ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (สวค.)

นพ.วินัย สวัสดิวร                เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)

นายจอน อึ๊งภากรณ์             กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ

ดำเนินการอภิปราย              ผศ.ภญ.ดร.ยุพดี  ศิริสินสุข  คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันเวลา :  วันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม 2557 เวลา 08.30 น. – 13.00 น.

สถานที่ : ห้องกัลปพฤกษ์ 2 ชั้น 2 โรงแรมทีเค พาเลซ ถนน แจ้งวัฒนะ

เพ่ิมเติม :

 

Start: August 9, 2014
End: August 9, 2014

ดู(หนัง)มินดาเนา คิดสันติภาพ

ชื่องาน : ดู(หนัง)มินดาเนา คิดสันติภาพ

รายละเอียด :

12.30 ลงทะเบียน
13.00 ฉายหนังจากชายแดนใต้ “สันติแค่ภาพ/ One Day Soon” (8 นาที)
ฉายหนังจากมินดาเนา “War is a Tender Thing” (ซับไตเติลไทย – 75 นาที)
14.30 เสวนาท้ายฉายหนัง
• อัดจานี อารุมปัก (ผู้กำ กับ War is a Tender Thing)
• สมัชชา นิลปัทม์ (อาจารย์คณะวิทยาการสื่อสาร มอ.ปัตตานี/DSW)
• ผู้ดำ เนินรายการ : ก้อง ฤทธิ์ดี
17.00 รับประทานอาหารเย็น
18.00 ปิดกิจกรรม

วันเวลา : 12.30 – 18.00 น. วันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม 2557

สถานที่ : ณ โรงภาพยนตร์ อาคารศูนย์การเรียนรู้ ไทยพีบีเอส

เพ่ิมเติม :

14834756054_720c17153f_z

ภูมิหลัง
สิ่งที่สงครามและความรุนแรงกระทำ ต่อผู้คนนั้นไม่ได้จำ กัดแต่เฉพาะเรื่องทางกายภาพ บ่อยครั้งเมื่อยืดเยื้อนานเข้า สงครามยังผูกขาดเรื่องเล่าเกี่ยวกับความขัดแย้งมากเสียจนผู้คนไม่มีเรี่ยวแรงที่จะจินตนาการถึงวิธีการเผชิญหน้ามันด้วยหนทางอื่น ความขัดแย้งที่พัฒนาเป็นการใช้ความรุนแรงในมินดาเนาทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์ก็เช่นกัน สงครามระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มกบฎชาวโมโรที่ต้องการแยกตัวเป็นอิสระซึ่งปะทุขึ้นกว่า 40 ปีในพื้นที่แห่งนั้นไม่เพียงแต่ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายหลายพันคน และทำ ให้มีผู้พลัดที่นาคาที่อยู่หลายแสนคนเท่านั้น แต่ยังสร้างความร้าวลึกระหว่างผู้คนสองศาสนา – คริสเตียนและมุสลิม – อีกด้วย กระบวนการสันติภาพที่มีขึ้นอย่างลุ่มๆ ดอนๆ ตลอดครึ่งหนึ่งของช่วงเวลาดังกล่าวได้ฝ่าฟันอุปสรรคจนกระทั่งรัฐบาลฟิลิปปินส์ได้บรรลุข้อตกลงสันติภาพกับแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร (MILF) ในปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา แม้จะสันติภาพจะมีความคืบหน้าไปมาก แต่ก็ยังมีความท้าทายอีกหลายประการในการแปรผลในทางปฏิบัติ
ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง “War is a Tender Thing” หรือ “อันสงครามนั้นเปราะบาง” ของอัดจานี อรุมปัก ได้ฉายเรื่องเล่าของผู้คนในครอบครัวของเธอ (ซึ่งมีพ่อเป็นมุสลิม และมีแม่เป็นคริสเตียน) ที่ผูกโยงเรื่องราวในชีวิตของผู้คนเข้ากับพัฒนาการของความขัดแย้งดังกล่าวข้ามชั่วอายุคน เรื่องราวในอดีตและความกังวลต่ออนาคตของสันติภาพได้ถูกฉายภาพให้เห็นความจำ เป็นของการอยู่ร่วมกันระหว่างผู้คน และแน่นอน รวมไปถึงความจำ เป็นของกระบวนการสันติภาพอีกด้วย
การเรียนรู้บทเรียนของพวกเขาน่าจะมีประโยชน์ต่อคิดถึงกระบวนการสันติภาพในชายแดนใต้/ปาตานีอย่างใคร่ครวญ เสียงสะท้อนจากผู้คนที่เชื่อมโยงกับภาพรวมที่กำ ลังเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นสิ่งที่ควรฟัง เพราะชีวิตของผู้คนจำ นวนมากหลากหลายภูมิหลังที่เข้าไปพัวพันในความขัดแย้งเป็นสิ่งยืนยันความจำ เป็นของการแสวงหาทางออกด้วยวิธีการอันสันติ
14837112355_107f3d2168_z
14834755834_966ee0e2cb_z
Start: August 9, 2014
End: August 9, 2014

August 8, 2014

เชียงใหม่: งานมหกรรมเกษตรอินทรีย์ ครั้งที่ ๔ ( ๘-๙ สิงหาคม ๒๕๕๗)

ชื่องาน : เชียงใหม่: งานมหกรรมเกษตรอินทรีย์ ครั้งที่ ๔ ( ๘-๙ สิงหาคม ๒๕๕๗)

รายละเอียด :

วันศุกร์ที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๗
๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. พาสื่อมวลชนศ้กษาพื้นที่รูปธรรมของเครือข่ายเกษตรกรพันธะสัญญา
กลุ่มที่ ๑ ไก่ไข่อารมณ์ดี ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม
กลุ่มที่ ๒ หมูเสรี ตำบลยางคราม อำเภอดอยหล่อ
๑๔.๐๐ – ๑๕.๓๐ น. สรุปการศ้กษาพื้นที่รูปธรรมของเครือข่ายพันธสัญญา ณ ข่วงฯ
วันเสาร์ที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๗
๐๙.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. ร่วมกิจกรรมการออกร้าน นิทรรศการ การสาธิตการแปรรูปและการจำาหน่ายผลผลิตเกษตรอินทรีย์
๑๐.๐๐ – ๑๐.๓๐ น. ละครเชฟน้อยกินเปลี่ยนโลก ตอน มดกับจิ้งหรีด
๑๐.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. เสวนา เรื่อง “แนวคิดและทิศทางการสร้างความเป็นธรรมของเกษตรกร เกษตรพันธะ สัญญาและข้อเสนอทางนโยบาย”
โดย
๑. คุณสุขสันต์ พรหมเทศ ตัวแทนเกษตรกรพันธะสัญญา
๒. คุณสมหมาย คำามาสาร ประธานสภาเกษตรกร จ.เชียงใหม่
๓. คุณศักดิ์ชัย ถนัดวณิชย์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่
๔. รศ.ไพสิฐ พานิชกุล อาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม
ดำเนินรายการโดย คุณเกียรติศักดิ์ ฉัตร์ดี
๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหารเที่ยง
๑๓.๓๐-๑๔.๐๐ น. ละครเชฟน้อยกินเปลี่ยนโลก ตอน เต่าอินทรีย์กับกระต่ายเคมี
๑๔.๐๐-๑๖.๐๐ น. แนวคิดทิศทางการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ ตลาดที่เป็นธรรม และข้อเสนอเชิงนโยบาย ระดับ
จังหวัดเชียงใหม่และระดับชาติ
โดย
๑. คุณพนมกร นามจันทร์ ประธานสหกรณ์การเกษตรแม่ทายั่งยืนจำกัด
๒. คุณสมัย แก้วภูศรี เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ลุ่มน้ำลี้ จังหวัดลำพูน
๓. คุณสง่า บัวระดก หัวหน้าคณะทำางานยุทธศาสตร์ สำานักงานจังหวัดเชียงใหม่
๔. ดร.ชมชวน บุญระหงษ์ อาจารย์วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยา ลัยแม่โจ้
ดำเนินรายการโดย คุณณัฐณิชา ภูมิภาคิน
ข่วงสาธิตและนิทรรศการ
– สาธิตการเก็บเมล็ดพันธุ์พืชอินทรีย์
– การเพาะกล้าผัก โดยเครือข่ายเชียงใหม่เขียว สวย หอม
– การแปรรูปจากข้าวอินทรีย์ เช่น ข้าวกล้องงอก, ข้าวควบ, ข้าวแคบ, ข้าวแตนน
– การแปรรูปจากถั่วเหลือง เช่น ซีอิ๊วขาว, เต้าเจี้ยว, ถั่วเน่าเมอะ, ถั่วเน่าแผ่น
– เตาพลังงานชีวภาพ
– การทำาก้อนจุลินทรีย์ท้องถิ่น
– ระบบเกษตรพันธะสัญญา (เกมส์บันไดงู, ซุ้มการเลี้ยงสัตว์, การผสมอาหารสัตว์ ฯลฯ)
– การตรวจหาสารเคมีฯ ในเลือด
– นิทรรศการขององค์กรร่วมจัด
ข่วงสุขภาพทางเลือก เครือข่ายหมอเมือง; ผลิตภัณฑ์สมุนไพร
ข่วงจำหน่ายผลผลิตเกษตรอินทรีย์
– พืช ผัก สมุนไพร ข้าว ถั่วเหลือง ฯลฯ
– กล้าพันธุ์ไม้ เมล็ดพันธุ์พืช ฯลฯ
– เนื้อหมู/ไก่/ปลา, ไข่ไก่, ไข่เป็ด
– อาหารพื้นบ้าน ปรุงสดๆ จากพืชผักอินทรีย์
– ผลิตภัณฑ์แปรรูป เช่น เต้าเจี้ยว, ซีอิ๊วขาว, บ๊วยดอง, น้ำผึ้ง, น้ำมันงา, ชาสมุนไพร, ข้าวแคบ, ข้าวแตน, ข้าว
ควบ, กล้วยฉาบ, ขนมพื้นเมือง ฯลฯ
– น้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ เหล้าบยวยดอง และกาแฟสดอินทรีย์

วันเวลา : วันที่ ๘-๙ สิงหาคม ๒๕๕๗

สถานที่ : ข่วงเกษตรอินทรีย์เชียงใหม่

เพ่ิมเติม :

Start: August 8, 2014
End: August 8, 2014

เรียนเล่นเล่น : ประชาธิปไตยอินโดนีเซีย จากการเลือกตั้งครั้งล่าสุด

ชื่องาน : เรียนเล่นเล่น : ประชาธิปไตยอินโดนีเซีย จากการเลือกตั้งครั้งล่าสุด

รายละเอียด :

“ประชาธิปไตยอินโดนีเซีย จากการเลือกตั้งครั้งล่าสุด:
ผลผลิตจากการกระจายอำนาจ การดิ้นรนของเครือข่ายเผด็จการทหาร”

วิทยากร อ.อรอนงค์ ทิพย์พิมล
อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอินโดนีเซียศึกษา

พิธีกร พิณผกา งามสม
บรรณาธิการ ประชาไท

วันเวลา : วันศุกร์ 8 สิงหาคม 2557 เวลา 19.00 – 21.00 น.

สถานที่ : อาคาร มอส.

เพ่ิมเติม : ลงทะเบียน สำรองที่นั่งล่วงหน้า ฟรี เพื่อจัดเตรียมสถานที่ http://goo.gl/OaDtR3

 

10410470_10152185680256300_4901937070099179570_n

Start: August 8, 2014
End: August 8, 2014

August 3, 2014

เสวนา “ปฏิรูป กสทช. เพื่อการปฏิรูปสื่อ”

ชื่องาน : เสวนา “ปฏิรูป กสทช. เพื่อการปฏิรูปสื่อ”

รายละเอียด :

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ  สถาบันอิศรา  มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย และศูนย์ศึกษาจริยธรรม กฎหมาย และนโยบายสื่อ ขอเชิญสื่อมวลชนทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ เข้าร่วมฟังและทำข่าวเวทีราชดำเนินเสวนา   เรื่อง “ปฏิรูป กสทช. เพื่อการปฏิรูปสื่อ” 

วิทยากร
นางสาวสุภิญญา   กลางณรงค์   
กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)
นางภัทรา  โชว์ศรี   
ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบการเงินที่ ๖ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
นางสาวสุวรรณา   สมบัติรักษาสุข 
ประธานคณะอนุกรรมการด้านกฎหมายและนโยบายสื่อ ศูนย์ศึกษาจริยธรรม กฎหมาย และนโยบายสื่อ
อาจารย์วรพจน์   วงศ์กิจรุ่งเรือง อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผู้ดำเนินรายการ      
นายประดิษฐ์   เรืองดิษฐ์    
นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

วันเวลา : วันอาทิตย์ที่  ๓  สิงหาคม ๒๕๕๗ เวลา  ๑๐.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.  

สถานที่ : ห้องประชุมอิศรา อมันตกุล ชั้น ๓  อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

เพ่ิมเติม :

Start: August 3, 2014
End: August 3, 2014

งานเสวนา คุยเฟื่องเรื่องเยอรมนี แชมป์บอลโลก – เรียนรู้จากประสบการณ์ ไทย-เยอรมัน

ชื่องาน : งานเสวนา คุยเฟื่องเรื่องเยอรมนี แชมป์บอลโลก – เรียนรู้จากประสบการณ์ ไทย-เยอรมัน

รายละเอียด :

สมาคมไทย-เยอรมัน  โดยความร่วมมือกับ สมาคมนักเรียนเก่าเยอรมันในประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มูลนิธิวัฒนธรรมไทย-เยอรมัน หอการค้าไทย-เยอรมัน   Deutscher Hilfsverein Thailand (DHV)      สถาบันวัฒนธรรมเยอรมัน (Das Goethe-Institut)

วัตถุประสงค์

1. เพื่อฉลองการเป็นแชมป์ฟุตบอลโลกสมัยที่ 4 ของเยอรมนี ค.ศ. 2014

2. เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ไทย-เยอรมันถึงความสำเร็จของทีมฟุตบอลเยอรมัน (เล่นเป็นทีม ความมีวินัย ความเป็นเยอรมัน ปรัชญาและสไตล์การเล่น การจัดการฯ)

3. วิเคราะห์และอภิปรายถึงเคล็ดลับของความสำเร็จว่าทีมฟุตบอลไทย คนไทยสามารถเรียนรู้อะไรได้บ้าง และเราสามารถประยุกต์สิ่งเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง

วิทยากรผู้เสวนารับเชิญ

1.  ดร. จริย์วัฒน์ สันตะบุตร   อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงแบร์ลีน พ.ศ. 2551-2555

2.  พลอากาศโท เจษฎา วิจารณ์  ผู้เชี่ยวชาญฟุตบอลเยอรมัน นักเรียนเก่ามหาวิทยาลัยทหาร
นอยบีแบร์ก

3.  คุณวิทยา เลาหะกุล  อดีตโค้ชและนักฟุตบอลทีมชาติไทย อดีตนักเตะทีมแฮร์ทา แบร์ลีน
(Hertha Berlin) และอดีตนักฟุตบอลไทยคนแรกในบุนเดสลิกา

4.   มร.บีเยิน ลินเดอมันน์  (Herr Björn Lindemann) นักฟุตบอลสโมสรสุพรรณบุรี เอฟซี

5.  ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  และศิษย์เก่ามหาวิทยาลัย Georg-August-Universitaet zu Goettingen

ผู้นำเสวนา   ดร. สุนทรียา เหมือนพะวงค์   ผู้พิพากษาศาลฎีกา และศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมึนสเตอร์

วันเวลา : วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2557, เวลา 14.00-16.30 น.

สถานที่ : ห้องประชุมใหญ่ศูนย์ไทย-เยอรมัน สถาบันเกอเธ่อ ซ.เกอเธ่

เพิ่มเติม : สำรองที่นั่ง  choungthong@hotmail.com   (ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง)

Start: August 3, 2014
End: August 3, 2014

August 2, 2014

ลำปางศึกษา ครั้งที่ 4: โลกการศึกษาในลำปาง

ชื่องาน : ลำปางศึกษา ครั้งที่ 4: โลกการศึกษาในลำปาง

รายละเอียด :

วันเวลา : วันที่ 2-3 สิงหาคม 57

สถานที่ : ณ ห้องประชุมโอฬารรมย์ (200 ที่นั่ง) อาคารโอฬาร โรจน์หิรัญ ม.ราชภัฏลำปาง

เพ่ิมเติม :

14732370422_ddbf4b12e4_o

Start: August 2, 2014
End: August 2, 2014
iCal Import