Calendar of Events

Event List Calendar

January 10, 2015

งานวันเด็ก สนุกยกกำลังสิบ @TK Park

วันเสาร์ที่ 10 มกราคม 2558

บริเวณ : ลานสานฝัน

เวลา

กิจกรรม

10.00 – 10.20 น. เริ่มรับลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติประจำปี 2558
10.20 – 10.30 น. พิธีกรเปิดงานอย่างเป็นทางการพร้อมแนะนำกิจกรรมภายในงาน
10.30 –  11.00 น. ตื่นตากับโชว์มายากลและตัวตลก (Comedy Show)

พร้อมสนุกกับเกมชิงรางวัลมากมาย

11.00 – 11.45 น. การแสดงชุด “มายโลดี้ มหัศจรรย์วันเด็ก” จากสถาบันสอนดนตรีมาโลดี้
11.45 – 12.15 น. เพลิดเพลินกับนิทานสุดหรรษาและความสามารพิเศษจากน้องๆ

ในโครงการลับสมองประลองปัญญา สรรหาหนูน้อยนักเล่านิทาน

12.15 – 13.00 น. สนุกกับเกมชิงรางวัลมากมายจากผู้สนับสนุนภายในงาน
13.00 – 13.30 น. เวทีแสดงความสามารถพิเศษของเด็ก เด็ก
13.30 – 14.30 น. ลุ้นรางวัลใหญ่จากการจับหางบัตรชิงรางวัล รอบที่ 1
14.30 – 15.00 น. สนุกกับเกมชิงรางวัลมากมายจากผู้สนับสนุนภายในงาน
15.00 – 15.30 น. การแสดงโขนเด็ก ตอน “หนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา”

และ “ระบำครุฑออกพระนารายณ์ทรงครุฑ” โดย คณะโจงแดง

15.30 – 16.00 น. การแสดงชุด ATP Artist Program by D-Dance School

“เด็กไทยต้องกล้า ต้องซ่าส์ ต้องบ้า ต้องโชว์” โดย สถาบัน D-Dance School

16.00 – 16.50 น. ลุ้นรางวัลใหญ่จากการจับหางบัตรชิงรางวัล รอบที่ 2
16.50 – 17.00 น. สรุปกิจกรรมประจำวัน

 

บริเวณ : ห้องสมุดเด็ก

ประกวดภาพระบายสีหัวข้อ “สนุก10 ” สนุกยกกำลังสิบ

ประกาศผลรอบเวลา :     12.00 / 14.00 และ 15.15 น.

 

วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม 2558

บริเวณ : ลานสานฝัน

เวลา

กิจกรรม

10.00 – 10.20 น. เริ่มรับลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติประจำปี 2558
10.20 – 10.30 น. พิธีกรเปิดงานอย่างเป็นทางการพร้อมแนะนำกิจกรรมภายในงาน
10.30 –  11.00 น. ตื่นตากับโชว์มายากลและตัวตลก (Comedy Show)

พร้อมสนุกกับเกมชิงรางวัลมากมาย

11.00 – 11.45 น. การแสดงชุด “มายโลดี้ มหัศจรรย์วันเด็ก” จากสถาบันสอนดนตรีมาโลดี้
11.45 – 12.15 น. เพลิดเพลินกับนิทานสุดหรรษา และความสามารพิเศษจากน้องๆ

ในโครงการลับสมองประลองปัญญา สรรหาหนูน้อยนักเล่านิทาน

12.15 – 13.00 น. สนุกกับเกมชิงรางวัลมากมายจากผู้สนับสนุนภายในงาน
13.00 – 13.30 น. การแสดงบิดลูกโป่งจากพี่โบโซ่ใจดี
13.30 – 14.30 น. เวทีแสดงความสามารถพิเศษของเด็ก เด็ก
14.30 – 15.00 น. การแสดงบิดลูกโป่งจากพี่โบโซ่ใจดี
15.00 – 15.30 น. สนุกกับเกมชิงรางวัลมากมายจากผู้สนับสนุนภายในงาน
15.30 – 16.30 น. ลุ้นรางวัลใหญ่จากการจับหางบัตรชิงรางวัล 
16.30 – 16.40 น. สรุปกิจกรรมประจำวัน

 

บริเวณ : ห้องสมุดเด็ก

ประกวดภาพระบายสีหัวข้อ “สนุก10 ” สนุกยกกำลังสิบ

ประกาศผลรอบเวลา :     13.00 น. และ 15.00 น.

Start: January 10, 2015
End: January 10, 2015

เสวนาวิชาการศิลปะ: เราอยู่ตรงไหน และเรากำลังจะไปไหน คำถามต่อศิลปะร่วมสมัยในไทยในบริบทอุษาคเนย์

หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน  ร่วมมือกับสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม จัดงาน เสวนาวิชาการศิลปะ หัวข้อเรื่อง เราอยู่ตรงไหน และเรากำลังจะไปไหน ? คำถามต่อศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทยในบริบทของอุษาคเนย์  โดย กรกฤต อรุณานนท์ชัย, ถนอม ชาภักดี, พีชญา  ศุภวานิช และ กฤติยา กาวีวงศ์, และ ศิลปิน นักวิจารณ์ศิลปะ และภัณฑารักษ์ ตามลำดับ ในวันเสาร์ที่ 10 มกราคม 2558 เวลา 14.00-17.00 น. ณ ห้องไอยรา หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน ซอยเกษมสันต์ 2  ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน (สามารถเดินทางโดยรถไฟฟ้าลงสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ)
การเสวนาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการอบรมบ่มเพาะองค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ของกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อ จะทำให้เห็นภาพรวมของพัฒนาการของศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทยนั้นเพิ่งเกิดขึ้นไม่นานมานี้เอง ความเข้าใจและการรับรู้ของสาธารณะชนเกี่ยวกับประเด็นและ ความสำคัญ บทบาท และหน้าที่ของงานศิลปะร่วมสมัยในเชิงสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และ วัฒนธรรม ที่มีความเชื่อมโยงกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของภูมิภาคและโลกาภิวัฒน์นั้น เป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้จักตัวเอง และมองหาตำแหน่งแห่งที่ของงานศิลปะร่วมสมัยของไทย เพื่อเกิดการถกเถียงแลกเปลี่ยนและอภิปรายถึงสถานะของงานศิลปะร่วมสมัยของเมืองไทยในปัจจุบัน เพื่อตั้งคำถามกับทิศทางของงานศิลปะร่วมสมัยของเราในอนาคต

ในปี พ.ศ. 2558  ประเทศไทย ก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยมีประเทศสมาชิกเป็นประเทศเพื่อนบ้านเป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ซึ่งอาเซียนก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเมืองเศรษฐกิจและสังคม ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาคตั้งแต่สมัยสงครามเย็น ในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ เราจึงเล็งเห็นความสำคัญของประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยใหม่ และศิลปะร่วมสมัยของไทย จำเป็นต้องมีมุมมองและวิสัยทัศน์ และมีความเชื่อมโยงกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ดังนั้นเพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจต่อตำแหน่งแห่งที่ของงานศิลปะร่วมสมัยของไทยในปัจจุบัน กับอนาคตที่มีการเชื่อมโยงกับบริบทศิลปะร่วมสมัยระดับภูมิภาคอุษาคเนย์ และระดับโลก โดยคาดหวังว่า กิจกรรมการเสวนาศิลปะ จะช่วยเปิดโลกทัศน์และอบรม บ่มเพาะองค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยให้แก่นักศึกษา นักเรียน และกลุ่มบุคคลทั่วไป
เกี่ยวกับผู้บรรยาย:
กรกฤต อรุณานนท์ชัย หลังจาก กรกฤต อรุณานนท์ชัย จบการศึกษาจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย และโรงเรียนนานาชาติ ในกรุงเทพ ปี พ.ศ.2548 เขาได้ไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกา ที่สถาบันศิลปะและการออกแบบ โรด ไอส์แลนด์ และมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เขาทำงานด้วยเดนิม ผ้ายีนส์ที่เขาเพิ่มเข้าไปในผลงานของเขาเปรียบเป็นธาตุที่ห้า รองจากธาตุทั้งสี่คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ กรกฤตเชื่อว่ายีนส์เป็นวัสดุที่มีความเป็นสากลเป็นผ้าสวมใส่ที่แพร่หลายทั้งในตะวันออกและตะวันตก ศิลปินทำงานจิตรกรรมโดยใช้ผ้ายีนส์ที่มีการฟอกขาว การจุดและดับไฟของศิลปินนั้นถือว่าทำงานแบบนี้เพื่อต้องการสร้างบทสนทนากับ ศิลปินไทยที่ชื่อว่า ดวงใจ จันทร์สระน้อย ซึ่งเคยเข้าร่วมรายการทีวี ประกวดของ ไทยแลนด์ ก็อต ทาเลนท์ ที่สร้างความเกรียวกราวเมื่อปีที่ผ่านมาผลงานศิลปะของกรกฤตที่ผ่านมามีดังต่อไปนี้นิทรรศการเดี่ยว Painting with history in a room filled with men with funny names 2, Bill Brady KC, Kansas City, USA Muen Kuey, (It’s Always the Same) C L E A R I N G บรัสเซลล์ เบลเยี่ยม (2556),  และ Painting with history in a room filled with men with funny names, C L E A R I N G นิวยอร์ก สหรัฐ (2556) และ Performance at the Museum, Museum of Modern Art in Warsaw, Warsaw, PL2557 (Painting with History in a Room Filled with Men with Funny Names 2) (with Korapat Arunanondchai) ,Carlos/Ishikawa ลอนดอน ประเทศอังกฤษ (2557)  และ Letters to Chantri #1: The l ady at the door/The gift that keeps on giving (with Boychild), The Mistake Room, ลอสแอนเจลิส สหรัฐ (2557) และ Korakrit Arunanondchai,MoMAP.S.1 นิวยอร์ก สหรัฐ (2557) ผลงานนิทรรศการกลุ่ม Double Life, Sculpture Center, นิวยอร์ก สหรัฐ (2555)  และ Columbia MFA Thesis Exhibition, Fisher Landau Center for Art นิวยอร์ก สหรัฐ (2555) และ Digital Expressionism, The Suzanne Geiss Company นิวยอร์ก สหรัฐ (2556)  และ Memonikos, Jim Thompson House กรุงเทพฯ ไทย (2556) และ Beware Wet Paint, ICA ลอนดอน อังกฤษ (2557) และ Beware Wet Paint, Fondazione Sandretto Re Rebaudengo ตูริน อิตาลี (2557)

ถนอม ชาภักดี  จบการศึกษาระดับปริญญาโทด้านการศิลปะวิจารณ์ และทฤษฎีจากสถาบันเคนท์ศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยเคนท์ ที่ เคนท์เทอร์เบอรี่ ประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2542 ทำวิทยานิพนธ์หัวข้อ อุดมการณ์และศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย พ.ศ. 2493 – 2533  ปัจจุบัน เป็นอาจารย์ประจำคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548  และเป็นนักวิจารณ์ศิลปะร่วมสมัยที่มีผลงานตีพิมพ์ลงเนชั่นสุดสัปดาห์อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบัน  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 เขาได้เริ่มต้นทำงานในฐานะภัณฑารักษ์รับเชิญเทศกาลศิลปะแนวเพอร์ฟอร์มแมนซ์ ทั้งนี้นอกจากงานจัดเทศกาลแล้ว เขายังได้ร่วมเข้าประชุมเสวนาศิลปะวิจารณ์ในระดับนานาชาติ International Art Critics Association (IACA) ในหลายๆประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย โปแลนด์ อังกฤษ ไทย นิทรรศการที่เขาเป็นภัณฑารักษ์รับเชิญมีดังนี้ ,Performance Art Festival Asiatopia 2 กรุงเทพ (2539), 253 Gallery กรุงเทพ (2542), Visual Culture Tourist Industry ณ Forum Staddtpark Graz ออสเตรีย(2543),  Performance Art Festival : Asiatopia 3 กรุงเทพ  (2543)  KwangJu Biennale กวางจู เกาหลี (สำหรับโครงการของอุกกาบาต) (2544)  Art Critic invited by Goethe Institut for Documenta 11, Kasel เยอรมัน (2545) Artist Performance art Festival, (PIPAF) มะนิลา ฟิลิปปินส์ (2546), Performance art and Poem Festival, British Council กรุงเทพ  (2547) ผลงานด้านวิชาการมีดังนี้ เข้าร่วมนำเสนอผลงาน ในประชุมวิชาการหัวข้อThe Ambiguous Allure of the West Conference : The Paradoxes of the Westernization of Thailand, Cornell University นิวยอร์ก สหรัฐ (2547)  และ ซิมโปเซียม ศิลปะกับการเมือง ณ สถาบันเกอเธ่  กรุงเทพ  (2550), ดำเนินรายการและประสานงาน Performance Art Festival : Asiatopia 10, กรุงเทพ (2550), นำเสนอผลงานArt and Community, Artist  Village ไทเป ไต้หวัน (2551) เป็นต้น

พิชญา ศุภวานิช หัวหน้าฝ่ายนิทรรศการ/ภัณฑารักษ์, Bangkok Art and Culture Center [BACC] (กรุงเทพฯ, ไทย) จบการศึกษาปริญญาตรีสาขาการออกแบบจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และ ปริญญาโทด้านการวางแผนและออกแบบพิพิธภัณฑ์จาก University of the Arts สหรัฐ ทำงานทางด้านการวางแผนและการออกแบบนิทรรศการและพิพิธภัณฑ์ให้กับหลายพิพิธภัณฑ์ในสหรัฐ ครอบคลุมสาขาตั้งแต่ด้านวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมและศิลปะ ได้เดินทางไปศึกษาต่อปริญญาโทด้านการออกแบบที่ Domus Academy ประเทศอิตาลีเมื่อปี พ.ศ. 2548 ก่อนกลับเมืองไทย โดยดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายนิทรรศการที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 จนถึงปัจจุบัน ริเริ่มโปรแกรมจัดการนิทรรศการ และกิจกรรมต่างๆ พร้อมกับทำหน้าที่เป็นภัณฑารักษ์ให้กับงานทัศนศิลป์ และงานสร้างสรรค์ด้านอื่นที่สามารถนำมาเชื่อมโยงสัมพันธ์และทำความเข้าใจเพื่อแตกยอดความคิดใหม่ๆ โครงการที่เธอได้ดูแลก่อนหน้านี้ ได้แก่ Twist and Shout: contemporary arts from Japan (2553), Dialogic: a multidisciplinary exhibition (2554), Politics of ME: an exhibition for micro-perspective (2555), Hear Hear: Sound installation exhibition (2556), Media Art Kitchen : Japan / Southeast Asia Media art project, Indonedia, Malaysia, Thailand, Phillippines (2014), Proximity, Poland (2014), Guandu Biennale, Taiwan (2014)

กฤติยา กาวีวงศ์  จบการศึกษาปริญญาโทด้านการจัดการ บริหารศิลปะ จากคณะบริหารจัดการศิลปะและนโยบาย จากสถาบันศิลปะชิคาโก มลรัฐอิลลินอยส์ สหรัฐ และก่อตั้งองค์กรศิลปะร่วมสมัย โปรเจ็ค 304 ร่วมกับเพื่อนศิลปิน ตั้งแต่ปี 2539 ผลงานนิทรรศการ ที่เธอได้คัดสรร และ ร่วมจัดกับภัณฑารักษ์ต่างประเทศ ด้วยการนำเสนอศิลปินจากประเทศไทยเอเซีย และ ยุโรป นั้นส่วนใหญ่เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันโดยศิลปินร่วมสมัยจากพื้นที่ดังกล่าว อาทิเช่น โลกาภิวัฒน์  การอพยพ ข้ามพรมแดน สังคม การเมือง วัฒนธรรมหลายหลาย และ เรื่องเล่าขนาดย่อม เช่นนิทรรศการ Under Construction, new dimension of Asian Art, ณ โอเปร่า ซิตี้ และ หอศิลป์ มูลนิธิ ญี่ปุ่น, โตเกียว, (2545), Nothing ; A retrospective of Rirkrit Tiravanija and Kamin Lertchaiprasert ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2004), “Politics of Fun” ณ Haus der Kulturen der Welt, เบอร์ลิน เยอรมนี (2548), the Bangkok Experimental Film Festival (2540–2550) ไซง่อน โอเพ็น ซีตี้ (ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช) โฮจิมินห์, เวียตนาม (2549-2550) “Between Utopia and Dystopia”, The Museo Universitario Arte Contemporáneo (Contemporary Art Univ. Museum), เม็กซิโก (2554) เป็นต้น กฤติยา ยังทำงานด้านการสร้างเครือข่ายระหว่างเอเชีย และภูมิภาคอื่นๆ เธอได้รับเชิญเข้าร่วมสัมมนา บรรยาย และ อบรมเชิงปฎิบัติการ อย่างต่อเนื่องในเอเซียและต่างประเทศ ปัจจุบันเธอดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ และหัวหน้าภัณฑารักษ์ประจำหอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน มูลนิธิ เจมส์ เอช ดับเบิลยู ทอมป์สัน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมหรือสำรองที่นั่งได้ที่หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน
โทร. 02612 6741
อีเมล์ education@jimthompsonhouse.com
FB Page: The Jim Thompson Art Center

Start: January 10, 2015
End: January 10, 2015

January 9, 2015

โครงการสัมมนา เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กเล็ก: สวัสดิการพื้นฐาน เพื่อการพัฒนาอย่างเท่าเทียม

ชื่องาน : โครงการสัมมนา เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กเล็ก: สวัสดิการพื้นฐาน เพื่อการพัฒนาอย่างเท่าเทียม

รายละเอียด :

๘.๓๐ – ๐๙.๐๐ น. ลงทะเบียน

๐๙.๐๐ – ๐๙..๑๐ น. กล่าวต้อนรับ โดย นพ.อำพล จินดาวัฒนะ ประธานกรรมาธิการปฏิรูปสังคมฯ  สภาปฏิรูปแห่งชาติ
เปิดการสัมมนา โดย ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์  รองนายกรัฐมนตรี

๐๙.๑๐ – ๐๙.๒๕ น. การแสดงและการยื่นข้อเสนอโดยตัวแทนเด็กเล็ก

๐๙.๒๕ – ๐๙.๔๕ น. ปาฐกถา เรื่อง เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กเล็ก สวัสดิการพื้นฐานเพื่อการพัฒนาอย่างเท่าเทียม

โดย นายอานันท์ ปันยารชุน  ทูตยูนิเซฟ

๐๙.๔๕ – ๑๑.๓๐ น. การสัมมนาในหัวข้อ  เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กเล็ก เพื่อการพัฒนาอย่างเท่าเทียม
นางศีลดา รังสิกรรพุม มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัมฯ : “ความจำเป็นของเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กเล็ก  จากประสบการณ์การทำงาน”
ดร.สมชัย จิตสุชน  สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย :“ข้อเสนอเรื่องเงินเพื่อการพัฒนาเด็กเล็ก”
นางสุนี  ไชยรส รองประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย : “แนวทางขับเคลื่อนทางกฎหมายสำหรับเงินเพื่อการพัฒนาเด็กเล็ก”
นางสาวอรุณี ศรีโต ประธานเครือข่ายแรงงานนอกระบบ : “จากเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ สู่เงินอุดหนุน
เพื่อการเลี้ยงดูเด็กเล็ก”
ดำเนินรายการโดย นางสาวราณี หัสสรังสี  คณะทำงานวาระทางสังคม สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๑๑.๓๐ – ๑๒.๓๐  น.  แลกเปลี่ยน และสรุปการสัมมนา

วันเวลา : วันศุกร์ที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๘ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๒.๓๐ น.

สถานที่ : ห้องกรรมาธิการ ๒๑๓ – ๒๑๖   ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๒

เพิ่มเติม :

Start: January 9, 2015
End: January 9, 2015

January 7, 2015

[เชียงใหม่] ความเปลี่ยนแปลงที่หลากหลายและซับซ้อนของสังคมไทยจากวิธีคิด-วิธีการทางประวัติศาสตร์

ชื่องาน : [เชียงใหม่] ความเปลี่ยนแปลงที่หลากหลายและซับซ้อนของสังคมไทยจากวิธีคิด-วิธีการทางประวัติศาสตร์

รายละเอียด :

กำหนดการ

10.00 – 11.00 น. บางแง่มุมจากงานของกลุ่ม Subaltern Studies โดย อ. ดร. สิงห์ สุวรรณกิจ

11.00 – 12.00 น. การเปลี่ยนรูปรัฐและอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ในทศวรรษ 2380-2480 โดย ศ. เกียรติคุณ สายชล สัตยานุรักษ์

12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 14.00 น. ความเปลี่ยนแปลงและกระบวนการสร้างประชาธิปไตยในชนบท กรณีภาคเหนือตอนบน โดย รศ. สมชาย ปรีชาศิลปกุล

14.00 – 15.00 น. ความเปลี่ยนแปลงและกระบวนการสร้างประชาธิปไตยในชนบท กรณีภาคเหนือตอนล่าง โดย ผศ. ดร. เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช

15.00 – 16.00 น. ความเปลี่ยนแปลง “ชนบท” ในสังคมไทย : บนความเคลื่อนไหวสู่ประชาธิปไตย โดย ศ. ดร. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์

วันเวลา : วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558 10.00- 16.00

สถานที่ : ห้อง HB7801 อาคาร HB7 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เพิ่มเติม : ผู้เข้าร่วมในการประชุมนี้ไม่ต้องเสียค่าลงทะเบียน โปรดลงชื่อสำรองที่นั่งภายในวันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2558 สำรองที่นั่งได้ที่ คุณวรันธร หมายเลขโทรศัพท์ 053 – 943243053 – 943243 E-mail :minikimji@hotmail.com หรือ คุณพงศกร หมายเลขโทรศัพท์ 053 – 943241053 – 943241 E-mail :bashistcmu@hotmail.com

Start: January 7, 2015
End: January 7, 2015

December 23, 2014

แถลงข่าวเปิดอัลบั้ม Sound Of Silence และการแสดง คอนเสิร์ต “เพลงประกอบภาพยนตร์” ตอน ปลูกเสียงเพลงให้แผ่นดิน

ชื่องาน : แถลงข่าวเปิดอัลบั้ม Sound Of Silence และการแสดง คอนเสิร์ต “เพลงประกอบภาพยนตร์” ตอน ปลูกเสียงเพลงให้แผ่นดิน

รายละเอียด :

วันเวลา : วันที่ 23 ธันวาคม 2557 เวลา 18.00-20.00

สถานที่ : ณ โรงภาพยนตร์ ธนบุรีรามา

เพิ่มเติม :

17.00 น. – ลงทะเบียน/รับประทานอาหาร/รับของที่ระลึก

17.30 น. – ประตูเปิด

18.00 น. – พิธีกร คุณ อรรถวุฒิ อินทอง แห่งรายการยอดนิยมทางอินเตอร์เนต I Screm (ไอ สครีม)

ขึ้นกล่าวต้อนรับ และฉาย VTR กว่าจะมาเป็น “Sound Of Silence”

18.10 น. – พูดคุยแนะนำสามพลังที่ร่วมกันสร้างโครงการ “ดนตรีเพื่อการเรียนรู้”

ในหัวข้อ : คิดยังไงถึงพา”นักดนตรีไปออกค่ายอาสา”

1.ผู้อำนวยการสำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)

2.คุณ วีรพงษ์ เกรียงสินยศ ที่ปรึกษาโครงการ ดนตรีเพื่อการเรียนรู้

3.คุณ รัชพงศ์ โอชาพงศ์ ผู้รับผิดชอบโครงการดนตรีเพื่อการเรียนรู้

18.20 น. – โชว์วงดนตรีตัวแทนจากโครงการ

1.ศิษย์เก่าTriple H Music เพลง ขอบคุณ (แต่งเพื่อมอบให้ครูน้ำโรงเรียนบ้านอุ่นรัก สังขละบุรี)

2.วง Not  West(นอท เวส) เพลง หัวใจ (แต่งเพื่อมอบให้ บ้านนนทภูมิ)

3. วง Nef Hole (เนฟ โฮ) เพลง บ้าน (แต่เพื่อมอบให้ชุมชนข้างทางรถไฟ ถนนไชยณรงค์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา)

18.30-20.00 น. – Triple H Music & คณะละครมะขามป้อม Presents คอนเสิร์ต เพลงประกอบภาพยนตร์

ตอน ปลูกเสียงเพลงด้วยแผ่นดิน

15388402134_381a656fcf_o

Start: December 23, 2014
End: December 23, 2014

December 22, 2014

สัมมนาสาธารณะ “เทคโนโลยีและสังคม” เรื่อง “บริการออนไลน์ไทยปลอดภัยแค่ไหน?: มาตรการทางกฎหมายและทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการจัดเก็บและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศไทย”

ชื่องาน : สัมมนาสาธารณะ “เทคโนโลยีและสังคม” เรื่อง “บริการออนไลน์ไทยปลอดภัยแค่ไหน?: มาตรการทางกฎหมายและทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการจัดเก็บและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศไทย”

รายละเอียด :

วันเวลา : จันทร์ 22 ธ.ค. 13:00-17:00

สถานที่ : ห้องประชุม 101 ตึกคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

เพิ่มเติม :

13:00 – 13:15 เปิดงาน
13:15–13:45 ผลการศึกษา “มาตรการคุ้มครองความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวออนไลน์ไทย”
นำเสนอโดย ธิติมา อุรพีพัฒนพงศ์ โครงการความเป็นส่วนตัวออนไลน์ เครือข่ายพลเมืองเน็ต
13:45–14:45 อภิปรายผลการศึกษาและให้ความเห็นเกี่ยวกับกฎหมายและมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคออนไลน์
วิทยากร
– สุดา วิศรุตพิชญ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– ฐิติรัตน์ ทิพยสัมฤทธิกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงทางคอมพิวเตอร์*
ดำเนินรายการ อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล เครือข่ายพลเมืองเน็ต
14:45–15:00 พักอาหารว่าง
15:00–16:45 เสวนา “ความจำเป็นของการมีกฎหมายดักรับข้อมูลเพื่อใช้ในการอำนวยความยุติธรรม”
วิทยากร
– กฤษฎา แสงเจริญทรัพย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
– คณาธิป ทองรวีวงศ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
– ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ** กองกฎหมาย สำนักงานกฎหมายและคดี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ดำเนินรายการ อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล เครือข่ายพลเมืองเน็ต
16:45–17:00 ปิดงาน
* กำลังติดต่อ
** รอการยืนยัน
—-
## หลักการและเหตุผล
ทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตมีบทบาทในชีวิตของคนไทยมากขึ้น ทั้งการสื่อสารทางโทรศัพท์มือถือและแอปสนทนาต่างๆ การซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ และการเข้าถึงบริการของภาครัฐผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประโยชน์ในการให้บริการต่างๆ ดังกล่าว ผู้ให้บริการมีความจำเป็นที่จะต้องจัดเก็บและ/หรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลบางประการ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นการทั่วไป อีกทั้งในภาคอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตของไทยก็ยังไม่มีมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับร่วมกันเมื่อกล่าวถึงมาตรการในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เกี่ยวกับข้อมูลของผู้ใช้บริการ ทำให้มีกรณีข้อมูลรั่วไหลหรือกรณีละเมิดสิทธิส่วนบุคคลออนไลน์ลักษณะเดียวกันเกิดขึ้นซ้ำๆ โดยไม่มีการแก้ไขในช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการละเมิดโดยภาครัฐหรือเอกชน และโดยตั้งใจหรือโดยประมาทก็ตาม
ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2555 – พฤศจิกายน 2557 โครงการวิจัยความเป็นส่วนตัวออนไลน์ เครือข่ายพลเมืองเน็ต ได้สำรวจมาตรการรักษาความปลอดภัยและการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวผู้ให้บริการออนไลน์ในประเทศไทยจำนวน 45 เว็บไซต์ (จำแนกออกเป็นหน่วยงานรัฐ, ธนาคาร, สถาบันอุดมศึกษา, ซื้อขายสินค้า, บริการขนส่งสาธารณะ, และบริการรับสมัครงาน) ในระดับเบื้องต้น เพื่อเป็นข้อมูลแก่ผู้ใช้ทั่วไปได้พิจารณาและเพื่อกระตุ้นผู้ให้บริการให้ตระหนักมากขึ้นถึงความสำคัญของการรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้บริการ การศึกษาดังกล่าวพบข้อค้นพบน่าสนใจหลายประการ ซึ่งรวมถึงอุปสรรคในการสำรวจและความเหมาะสมของตัวชี้วัด
ในวาระที่โครงการวิจัยดังกล่าวใกล้จะสรุปผลการวิจัย และเตรียมการดำเนินงานในขั้นต่อไป เครือข่ายพลเมืองเน็ตจึงถือเป็นโอกาสอันดีในการเผยแพร่งานวิจัยนี้และจัดให้มีการสัมมนาเกี่ยวกับกฎหมายและกลไกการกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่มีอยู่และกำลังอยู่ในการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจกับสาธารณะถึงความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและสังคมของความเป็นส่วนตัว และเพื่อร่วมกันหาแนวทางการคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวต่อไป
## วัตถุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่ผลการประเมินระดับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของผู้ให้บริการออนไลน์ไทย
2. เพื่อเป็นเวทีสาธารณะในการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวออนไลน์
3. เพื่อเป็นเวทีสาธารณะในการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องมาตรการทางกฎหมายและทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการจัดเก็บและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศไทย
## ผู้รับผิดชอบโครงการ
1509711_10152933422318130_6480401472642469401_n
Start: December 22, 2014
End: December 22, 2014

December 20, 2014

ภาพยนตร์สนทนา “บทเรียนจากบาดแผลความทรงจำ”

ชื่องาน : ภาพยนตร์สนทนา “บทเรียนจากบาดแผลความทรงจำ”

รายละเอียด :

วันเวลา : เสาร์ ที่ 20 ธันวาคม 2557 15.00 น. เป็นต้นไป

สถานที่ :  โรงภาพยนตร์ศรีศาลายา

เพิ่มเติม : สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02 482 2013-14 ต่อ 111 ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรมแต่อย่างใด

10408974_829646400418895_3176482179533307949_n

Start: December 20, 2014
End: December 20, 2014

ปาฐกถามหาตมะคานธีอนุสรณ์ว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนครั้งที่ 3

ชื่องาน : ปาฐกถามหาตมะคานธีอนุสรณ์ว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนครั้งที่ 3

รายละเอียด :

09.00–09.30
Registration and Indian Organic refreshment / ลงทะเบียนและรับอาหารว่างออร์แกนิกสไตล์อินเดีย

09.30–10.00
– Sitar and Tabla Masters play “Raghu Pati Raja Ram” / ศิลปินบรรเลงพิณสิตาร์และกลองตัพลา เพลง “รฆุ ปติ ราชา ราม”
– Welcome Remarks by Assistant Professor Surat Horachaikul (Director, Indian Studies Center of Chulalongkorn University) / ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุรัตน์ โหราชัยกุล (ผู้อำนวยการศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) กล่าวต้อนรับผู้ร่วมงาน
– Lighting of the lamp / พิธีจุดประทีป
– Introduction of Rajagopal P.V. by Ajarn Sulak Sivaraksa (Founder and Advisor of Sathirakoses Nagapradeepa Foundation / กล่าวแนะนำ ราชโคปาลพี. วี. โดยอาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป

10.00–11.00

The 3rd Mahatma Gandhi Memorial Lecture on Sustainable Development (2014)
ปาฐกถามหาตมะคานธีอนุสรณ์ว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนครั้งที่ 3 (2557)
JOURNEY FOR PEACE & JUSTICE / ยาตราเพื่อสันติและความยุติธรรม
RAJAGOPAL P.V. / ราชโคปาล พี. วี.
President of Ekta Parishad ประธานองค์กรเอกตา ปริษัท

11.00–11.30     Indian Organic Break, book launch “Journey to the other India” (Thai version) and book signing by Rajagopal PV/ อาหารว่างออร์แกนิกสไตล์อินเดีย เปิดตัวหนังสือ “อหิงสายาตรา บนเส้นทางสู่อินเดียอื่น” (ฉบับแปลภาษาไทย) และรับลายเซ็นจากผู้เขียน

11.30–12.00    Q&A / ถาม-ตอบ
12.00–13.00 Lunch / รับประทานอาหารกลางวันตามอัธยาศัย

13.00–15.00

Panel Discussion / เวทีแลกเปลี่ยน: Landless or No Justice? / ไร้ที่ทำกิน หรือ ไร้ความยุติธรรม?
1. พงษ์ทิพย์ สำราญจิตต์ / Pongtip Samranjit
นักรณรงค์เคลื่อนไหวเพื่อกลุ่มไร้ที่ทำกิน กลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน (Local Act)
2. ประภาส ปิ่นตบแต่ง / Prapart Pintobtang
นักวิชาการและเกษตรกรผู้ผลักดันการทวงคืนสิทธิ์ในที่ดินทำกินของสหกรณ์บ้านคลองโยงจนได้โฉนดชุมชนแห่งแรกของไทย
3. ประชา หุตานุวัตร / Pracha Hutanuwatre     นักกิจกรรมเพื่อสังคมที่ทำงานเคลื่อนไหวเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมโดยใช้สันติ    วิธีมากว่าครึ่งชีวิต
4. จำนงค์ จิตรนิรัตน์ / Jamnong Jitrnirat     ผู้ก่อตั้งและที่ปรึกษาขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-Move)
5. สวาท อุปฮาด/ Sawaad Uppahad     พ่อครัวใหญ่กลุ่มสมัชชาคนจน ผู้ประสานงานเครือข่ายไทบ้านผู้ไร้ถิ่นสกลนคร หากแต่ทำงานขับเคลื่อนครอบคลุมภูมิภาคอีสานเหนือ
ณาตยา แวววีรคุปต์ – ดำเนินรายการ

15.00–15.20    Indian Organic Break / อาหารว่างออร์แกนิกสไตล์อินเดีย
15.20–15.50    Q & A / ถาม-ตอบ
15.50–16.00    Closing remarks / กล่าวปิดงานโดยผู้จัด

This event is open to the public. It is free of charge. Car park space is available at Maha Chakri Sirindhorn Building, 15 baht per hour. For the full programme, visit www.suan-spirit.com or www.facebook.com/suan2001. For seat reservation and other details, contact Woranut or Kittikhun at 0-2622-2495-6 or 0-2660-0955.

วันเวลา : วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม 2557 เวลา 09.00 – 16.00 น.

สถานที่ : ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เพิ่มเติม : กิจกรรมนี้เปิดให้สาธารณะเข้าร่วมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ จอดรถได้ที่อาคารมหาจักรีสิรินธร ชั่วโมงละ 15 บาท สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง www.suan-spirit.com หรือ www.facebook.com/suan2001 จองที่นั่งและสอบถามเพิ่มเติม ติดต่อ วรนุช หรือ กิตติคุณ โทรศัพท์ 0-2622-2495-6 หรือ 0-2660-0955

+ + + + + + + + + + +

ช่วงปาฐกถาฯ มีหูฟังแปลภาษาให้สำหรับผู้ที่ต้องการ

cms169img1

Start: December 20, 2014
End: December 20, 2014

December 18, 2014

“ไทย-พม่าศึกษา ในกรอบประชาคมอาเซียน”

ชื่องาน :  “ไทย-พม่าศึกษา ในกรอบประชาคมอาเซียน”

รายละเอียด :

10255551_805981469445310_2854961176407290722_n

“ไทย – พม่าศึกษา ในกรอบประชาคมอาเซียน”
Thai – Myanmar Studies in ASEAN Community
พฤหัส 18 – ศุกร์ 19 ธันวาคม 2557 / Thu 18 – Fri 19 December 2014
ณ อาคารเอกาทศรถ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
กำหนดการคลิก : https://drive.google.com/file/d/0B8TGG4oXxT1pbDNwMUZvbC1jdkE/view?usp=sharing
อัตราค่าลงทะเบียนวิชาการ/Registration:
– บุคคลทั่วไป** 1,200 บาท
– นิสิต /นักศึกษา ปริญญาตรี / โท 500 บาท
หมายเหตุ **บุคคลทั่วไป หากสมัครพร้อมชำระเงินค่าลงทะเบียน
ภายในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2557 ค่าลงทะเบียนจะลดเหลือท่านละ 1,000.- บาท
[วันแรก] พฤหัส 18 ธันวา 2557 (Thu 18 December)
08.00 ลงทะเบียน / Registration
09.00 พิธีเปิดการสัมมนา / Opening Ceremony
– ศ.ดร.สุจินต์ จินายน อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวต้อนรับ /Welcoming
– ศ.เกียรติคุณ เพ็ชรี สุมิตร ราชบัณฑิต ประธานมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ฯ กล่าวรายงาน /Report
– คุณประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานคณะกรรมการ บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวเปิดงาน / Opening
– มอบของที่ระลึก และถ่ายภาพหมู่ / Souvenirs Exchange and Group Photos
09.30 ปาฐกถานำโดย ฯพณฯ พิษณุ สุวรรณชฏ เอกอัครราชทูตไทย ประจำประเทศพม่า
10.00 พักรับประทานอาหารว่าง / Tea and Coffee Break
10.30 อภิปราย /Panel “ASEAN East-West, North-South Economic Corridors ไฮเวย์จากมะละแหม่ง ผ่านพิษณุโลก ถึงดานัง ทางรถไฟความเร็วสูง จากคุณหมิง ผ่านเวียงจัน/กทม ถึงสิงคโปร์” ||| คุณนินนาท ไชยธีรภิญโญ | ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ | ดร.บุญทรัพย์ พานิชการ | รศ.ดร. สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์ | อ.ปริญญา ปานทอง ดำเนินการและนำอภิปราย
12.30 อาหารกลางวัน / Lunch
13.30 แบ่งห้องสัมมนาหัวข้อเฉพาะ / Panels
ห้องที่ 1 / Room 1 “ASEAN – North /Central Thailand to Tourism การท่องเที่ยวลุ่มน้ำปิง-วัง-ยม-น่าน และสาละวิน” ||| ผศ.ดร.บุณยสฤษภ์ อเนกสุข | รศ.ดร.เทิดชาย ช่วยบำรุง | คุณพจนา สวนศรี | อ.ภิสันติ์ ตินะคัต ดำเนินการและนำอภิปราย
ห้องที่ 2 / Room 2 “UPDATE ประเทศไทย : การบริหารส่วนภูมิภาค” ||| ศ. ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง | อ.ชำนาญ จันทร์เรือง | รศ.สมชาย ปรีชาศิลปะกุล | ดร.ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา | ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ดำเนินการและนำอภิปราย
ห้องที่ 3 / Room 3 “ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ตะเข็บพรมแดนไทย/พม่า” ||| ผศ.ดร.อัจฉริยา ชูวงศ์เลิศ | ผศ.ดร.วศิน ปัญญาวุธตระกูล | อ.อนุชิต สิงห์สุวรรณ | ผศ.ดร.พิเชฐ สายพันธ์ ดำเนินการและนำอภิปราย
ห้องที่ 4 / Room 4 “พระสงฆ์กับการบ้าน – การเมือง ในอาเซียน” ||| พระภิกษุณีธัมมนันทา | อ.สุรพศทวีศักดิ์ | ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ | อ.สมฤทธิ์ ลือชัย ดำเนินการและนำอภิปราย
15.00 พักรับประทานอาหารว่าง / Tea and Coffee Break
15.30 แบ่งห้องสัมมนาหัวข้อเฉพาะ / Panels
ห้องที่ 1 / Room 1 “แรงงานข้ามพรมแดน” ||| คุณบุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์ | คุณนรา รัตนรุจ | คุณอัจฉรียา สายศิลป์ | คุณอดิศักดิ์ ศรีสม ดำเนินการและนำอภิปราย
ห้องที่ 2 / Room 2 “น้ำสาละวิน – น้ำโขง – เขื่อน : พัฒนา หรือ ทำลาย” ||| ดร.สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ | คุณเพียรพร ดีเทศน์ | รศ.ดร.รัศมี ชูทรงเดช | คุณวิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ ดำเนินการและนำอภิปราย
ห้องที่ 3 / Room 3 “ไทยพม่าค้าขาย เศรษฐกิจก้าวไกล ปลอดภัยปลอดโรค” ||| ผศ.(พิเศษ) นพ.นภดล สุชาติ | ดร.วิสาข์ สุพรรณไพบูลย์ | นพ.วิทยา สรัสดิวุฒิพงศ์ | คุณวิโรจน์ จิรัฐิติกาลโชติ | ดร.ชญานินท์ ประทุมสูตร ดำเนินการและนำอภิปราย
ห้องที่ 4 / Room 4 “แผนที่ – เขตแดนทางบก / ทางทะเล : ไทย – พม่า” ||| อ.พนัส ทัศนียานนท์ | คุณดามพ์ บุญธรรม | อ.กวีพล สว่างแผ้ว | อ.ดุลยภาค ปรีชารัชช | อ. อัครพงษ์ ค่ำคูณ ดำเนินการและนำอภิปราย
18.00 เลี้ยงอาหารค่ำ ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และงานแฟชั่นโชว์ “ดังในสวนขวัญ หลากหลายพันธ์มาลี”
[วันที่สอง] ศุกร์ 19 ธันวา 2557 (Fri 19 December)
08.30 แบ่งห้องสัมมนาหัวข้อเฉพาะ
ห้องที่ 1 / Room 1 “Constructions of National Heroes and Heroines in Southeast Asia” “การสร้างวีรบุรุษ วีรสตรี และวีรชน ของชาติอาเซียน” ||| อ.สายพิณ แก้วงามประเสริฐ | คุณสุเจน กรรพฤทธิ์ | ดร อุดมพร ธีระวิริยะกุล | อ.อัครพงษ์ ค่ำคูณ | ศ.ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ดำเนินการและนำอภิปราย
ห้องที่ 2 / Room 2 “มองพม่าผ่านธุรกิจ” | คุณขวัญนภา ผิวนิล | อ.ดุลยภาค ปรีชารัชช | คุณผกายมาศ เวียร์ร่า | คุณสมศักดิ์ คะวีรัตน์ | คุณอดิศักดิ์ ศรีสม ดำเนินการและนำอภิปราย
ห้องที่ 3 / Room 3 “มองอาเซียนผ่านสื่อ” ||| คุณสุภัตรา ภูมิประภาส | คุณสงวน คุ้มรุ่งโรจน์ | คุณสุภลักษณ์ กาญจนขุนดี | รศ.ดร.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ ดำเนินการและนำอภิปราย
10.00 พักรับประทานอาหารว่าง / Tea and Coffee Break
10.30 แบ่งห้องสัมมนาหัวข้อเฉพาะ
ห้องที่ 1 / Room 1 “ศูนย์การเรียนรู้ ห้องสมุด จดหมายเหตุ อาเซียน – อุษาคเนย์” ||| ผศ.ดร.สุเทพ ทองงาม | ผศ.ดร.อรรจน์ บัณฑิตย์ | คุณสุนันทา เมืองนิล | คุณกาญจนาภรณ์ จิตต์สง่า | คุณศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ ดำเนินการและนำอภิปราย
ห้องที่ 2 / Room 2 “ภาษากับวัฒนธรรม ASEAN” ||| ผศ.ดร.ธัญญา สังขพันธานนท์ | ดร.กรรณิการ์ สาตรปรุง | คุณองค์ บรรจุน | ผศ.วิรัช นิยมธรรม ดำเนินการและนำอภิปราย
ห้องที่ 3 / Room 3 “การเมืองเรื่องสุนทรียภาพในรัฐฉานตะวันออก : การเชื่อมโยง เรื่องศิลปกรรม ชาติพันธุ์ และการท่องเที่ยว ในกลุ่มประชาคมอาเซียน” ||| ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง | ดร. ณัฐกร วิทิตานนท์ | อ.ปฐมพงศ์ มโนหาญ | ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ดำเนินการและนำอภิปราย
ห้องที่ 4 / Room 4 “ปัญหาและทางออกเรื่องชาติพันธุ์ตะเข็บชายแดนไทย – พม่า” ||| คุณคืนใส ใจเย็น | อ.ดุลยภาค ปรีชารัชช | อ.สมฤทธิ์ ลือชัย | อ.มรกตวงศ์ ภูมิพลับ ดำเนินการและนำอภิปราย
12.30 อาหารกลางวัน / Lunch
13.30 ภาคสนาม City tour พิษณุโลก
(รับจำนวน 80 ท่าน ต้องลงทะเบียนและแจ้งล่วงหน้า โดยผู้จัดฯ จะเรียงลำดับตามการสมัครลงทะเบียนวิชาการ)
– คณะพร้อมกันที่บริเวณหน้าอาคารเอกาทศรถ และออกเดินทางโดยรถบัส
– นมัสการพระพุทธชินราชและพระที่วิหารพระเจ้าเข้านิพพาน พร้อมซื้อของฝากเมืองพิษณุโลก
– สักการะสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ศาลสมเด็จและเข้าชมพิพิธภัณฑ์พระราชวังจันทน์ ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์สร้างให้ เพื่อจัดแสดงรูปลักษณ์สัณฐานของพระราชวังจันทน์
– ชมวิถีชีวิตพื้นบ้านที่พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี
– เดินทางกลับมหาวิทยาลัยนเรศวร
พิธีกรตลอดงาน อ.สมฤทธิ์ ลือชัย
* วิทยากรบางท่านอยู่ระหว่างทาบทาม
——————————————————–
(2) ขอเชิญผู้สนใจร่วมเดินทางลงพื้นที่ภาคสนาม
แม่สอด – เมียวดี – มะละแหม่ง – ตันบูซายัต – หงสาวดี – ย่างกุ้ง
ศุกร์ 19 – พุธ 24 ธันวาคม 2557 (6 วัน/ 5 คืน)
ณ ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์
กำหนดการคลิก : https://drive.google.com/file/d/0B8TGG4oXxT1pbDNwMUZvbC1jdkE/view?usp=sharing
อัตราค่าลงทะเบียนภาคสนาม/ Registration: ท่านละ 32,000.- บาท
แบ่งจ่ายเป็น 2 งวด
งวดที่ 1 เงินมัดจำ 12,000 บาท เมื่อสมัครลงทะเบียน
งวดสุดท้าย จำนวน 20,000 บาท ภายในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2557
Start: December 18, 2014
End: December 18, 2014

เสวนา ” นิธิ 20 ปีให้หลัง”

ชื่องาน : เสวนา ” นิธิ 20 ปีให้หลัง”

รายละเอียด :

วันเวลา : 13.30 – 17.00 วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม 57

สถานที่ : มติชน อคาเดมี

เพิ่มเติม :

15947659456_a9d44715f5_b

Start: December 18, 2014
End: December 18, 2014
iCal Import