Calendar of Events

Event List Calendar

December 18, 2014

เสวนาเรื่อง “ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ….”

ชื่องาน : เสวนาเรื่อง “ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ….”

รายละเอียด : เนื่องด้วยคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ได้จัดทำแนวทางการตรากฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารรณสุข และร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. …. เสนอต่อนายกรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๗ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการขับเคลื่อนให้มีการตราพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. …. คปก. จึงจัดให้มีเวทีเสวนาเรื่อง “ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ….”

วันเวลา : วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๗ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.

สถานที่ : ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ชั้น ๑๖ ห้อง ๓ อาคารซอฟแวร์ ปาร์ค ถนนแจ้งวัฒนะ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

เพิ่มเติม :

Start: December 18, 2014
End: December 18, 2014

December 17, 2014

สถานการณ์เด่นแรงงานข้ามชาติในรอบปี 2557 และแนวโน้มการจัดการแรงงานข้ามชาติในอนาคตของประเทศไทย

ชื่องาน : สถานการณ์เด่นแรงงานข้ามชาติในรอบปี 2557 และแนวโน้มการจัดการแรงงานข้ามชาติในอนาคตของประเทศไทย

รายละเอียด :

09.30 น. – 10.00 น. ลงทะเบียน
10.00 น .- 10.30 น. นำเสนอสารคดีสั้นเรื่อง “สถานการณ์เด่นแรงงานข้ามชาติในปี 2557”
10.30 น. – 12.30 น. แถลงข่าวในหัวข้อ สถานการณ์เด่นแรงงานข้ามชาติในรอบปี 2557  และแนวโน้มการจัดการแรงงานข้ามชาติในอนาคตของประเทศไทย ในประเด็นต่างๆ ดังนี้
– เปิด 5 สถานการณ์เด่นแรงงานข้ามชาติในรอบปี 2557   โดย คุณอดิศร เกิดมงคล  ตัวแทนเครือข่ายองค์กรที่ทำงานด้านประชากรข้ามชาติ
– ประเด็นสถานการณ์เด็กข้ามชาติและการศึกษา โดย คุณวรางคณา มุทุมล  ตัวแทนเครือข่ายองค์กรที่ทำงานด้านประชากรข้ามชาติด้านเด็ก
– ประเด็นสถานการณ์ด้านนโยบายสุขภาพและการเข้าถึงของแรงงานข้ามชาติ โดย คุณนงลักษณ์ ดิษฐวงษ์ ตัวแทนเครือข่ายองค์กรที่ทำงานด้านสุขภาพของประชากรข้ามชาติ
– ประเด็นสถานการร์การลักลอบหนีเข้าเมืองของพม่าโรฮิงยา/บังคลาเทศ โดยคุณศิววงศ์ สุขทวี ตัวแทนเครือข่ายองค์กรที่ทำงานด้านประชากรข้ามชาติ ในกลุ่มผู้อพยพลักลอบหนีเข้าเมืองพม่าโรฮิงยา/บังคลาเทศ
– ประเด็นสถานการณ์ด้านสิทธิและการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของแรงงานข้ามชาติ โดย คุณเอมาโฉ่ ตัวแทนมูลนิธิสิทธิมนุษยชนเพื่อการพัฒนา
– ประเด็นสถานการณ์การค้ามนุษย์และการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติในกิจการประมงทะเล โดย คุณสมพงษ์ สระแก้ว ผู้อำนวยการเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN)

12.30 น. – 13.30 น. รับประทานอาหารกลางวัน

วันเวลา : วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เวลา 09.30 น. -13.00 น.

สถานที่ : สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (ตรงข้ามวชิระพยาบาล)

เพิ่มเติม :

15846288960_a6e4b84a5b_b

Start: December 17, 2014
End: December 17, 2014

December 16, 2014

เสวนาเรื่อง “ความไม่เข้าใจเรื่องภิกษุณีสงฆ์ในสังคมไทย”

ชื่องาน : เสวนาเรื่อง “ความไม่เข้าใจเรื่องภิกษุณีสงฆ์ในสังคมไทย”

รายละเอียด :

วันเวลา : วันอังคารที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๓.๓๐-๑๕.๓๐ น.

สถานที่ : โถงชั้นล่าง หอจดหมายเหตุพุทธทาสอินทปัญโญ (สวนโมกข์ กรุงเทพฯ)

เพิ่มเติม :

10417575_10152658404127798_7275624015835056550_n

Start: December 16, 2014
End: December 16, 2014

December 15, 2014

งานรำลึก 2 ปี การหายไปของสมบัด สมพอน (2 years I remember)

ชื่องาน : งานรำลึก 2 ปี การหายไปของสมบัด สมพอน (2 years I remember)

รายละเอียด :

กำหนดการ

12.30-13.00 น.  ลงทะเบียน
13.00-13.10 น. กล่าวต้อนรับและแนะนำการสนทนา
13.10-14.30 น.   สนทนา “ถ้าโลกนี้ไม่มีการอุ้มหาย…”
โดย บุคคลสำคัญในชีวิตของสมบัด สมพอน, ทนายสมชาย นีละไพจิตร และบิลลี่ พอละจี รักจงเจริญ : ประทับจิต นีละไพจิตร, พิณนภา พฤกษาพรรณ*
14.30-15.30 น. ชมภาพยนตร์สารคดีรางวัลสหประชาชาติปีล่าสุด ‘Unjust’ เรื่องราวการต่อสู้ของญาติผู้ถูกบังคับสูญหายในภูมิภาคเอเชีย และแลกเปลี่ยนพูดคุยแนวทางในการรณรงค์เพื่อยุติการบังคับสูญหายในภูมิภาคอาเซียน
15.30-16.00 น. ชมวีดีโอ “Growing Peace Together” การเดินทางเพื่อตามหาสันติภาพตลอดระยะเวลา2 ปีการอุ้มหาย ‘สมบัด สมพอน’ โดย Sombath Somphone & Beyond Project
16.00-16.30 น.  สารจากคนหนุ่มสาวลุ่มน้ำโขงถึงองค์กรสิทธิมนุษยชนสากล

* อยู่ระหว่างประสานงาน

จัดโดย
Sombath Somphone & Beyond Project
เครือข่ายคนหนุ่มสาวลุ่มน้ำโขง
Sombath Initiative
สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ

วันเวลา : วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม 2557 เวลา 13.00 – 16.30 น.

สถานที่ : บริเวณห้องโถง สำนักกลางนักเรียนคริสเตียน

เพิ่มเติม :

Start: December 15, 2014
End: December 15, 2014

December 14, 2014

งาน รำลึกถึงชีวิตและผลงาน ศักดิชัย บำรุงพงศ์ (เสนีย์ เสาวพงศ์)

ชื่องาน : งาน รำลึกถึงชีวิตและผลงาน ศักดิชัย บำรุงพงศ์ (เสนีย์ เสาวพงศ์)

รายละเอียด :

วันเวลา : วันอาทิตย์ที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๓.๓๐ น. ถึง ๑๗.๓๐ น.

สถานที่ : ณ หอประชุมพูนศุข พนมยงค์ สถาบันปรีดี พนมยงค์

เพิ่มเติม :

63975_1015502288475249_5701160343078425194_n

Start: December 14, 2014
End: December 14, 2014

December 12, 2014

เสวนา/เปิดตัวหนังสือ “โจนาทาน ลิฟวิงสตัน นางนวล ฉบับสมบูรณ์ ภาค 4 ค้นพบใหม่”

ชื่องาน : เสวนา/เปิดตัวหนังสือ “โจนาทาน ลิฟวิงสตัน นางนวล ฉบับสมบูรณ์ ภาค 4 ค้นพบใหม่”

รายละเอียด :

17.00 ลงทะเบียน

17.30 แนะนำหนังสือและเสวนา

โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
สุชาติ สวัสดิ์ศรี
อโณทัย นิติพน
ประจักษ์ ก้องกีรติ
มรกตวงศ์ ภูมิพลับ ดำเนินรายการ

18.30 ถาม-ตอบ

19.00 อาหารว่างและสังสรรค์

จัดโดย :
สำนักพิมพ์จินต์ ร่วมกับมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มธ. ท่าพระจันทร์

วันเวลา : วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม 2557 เวลา 17.00 – 19.00 น.

สถานที่ : โถงทางเข้า หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

เพิ่มเติม :

15352650403_83fc9d3730_b

Start: December 12, 2014
End: December 12, 2014

แถลงรายงานวิจัยและเสวนาในหัวข้อ บทบาทของ กสทช. ในการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ต

ชื่องาน : แถลงรายงานวิจัยและเสวนาในหัวข้อ บทบาทของ กสทช. ในการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ต

รายละเอียด :

วันเวลา : วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม 2557 เวลา 9.30-12.30 น.

สถานที่ :  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

เพิ่มเติม :

10849801_354184718094298_8907506949825831346_n

Start: December 12, 2014
End: December 12, 2014

December 11, 2014

ห้องเรียนสิทธิมนุษยชน ‘สิทธิมนุษยชนในภาวะสถานการณ์ฉุกเฉิน’

ชื่องาน : ห้องเรียนสิทธิมนุษยชน ‘สิทธิมนุษยชนในภาวะสถานการณ์ฉุกเฉิน’

รายละเอียด :

วันเวลา : 11 ธันวาคม 2557 เวลา 13.30-16.00 น.

สถานที่ :  ห้อง 109 อาคารปัญญาภิพัฒน์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

เพิ่มเติม :

เตรียมพบกับห้องเรียนครั้งต่อไป (กำหนดการแน่นอนจะแจ้งอีกครั้ง)
การไม่ถูกทรมาน (มาตรา 7 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง [ICCPR])
สิทธิในกระบวนการยุติธรรม (มาตรา 9 ICCPR)
สิทธิในการชุมนุมอย่างสงบ (มาตรา 21 ICCPR)

การเดินทางไปมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
* รถศาลายาลิงค์ จากสถานีรถไฟฟ้าบางหว้า http://www.music.mahidol.ac.th/salayalink/
* รถเมล์สาย 515 จากอนุสาวรีย์ชัยฯ ฝั่งโรงพยาบาลราชวิถี (ลงรถเมล์ป้ายแรกหน้ามหาวิทยาลัย)

 

Exploring Human Rights Seminar Series
Discussion in both English and Thai.

……………………………….
HUMAN RIGHTS IN THE “STATE OF EMERGENCY”

December 11, 2014
1:30-4.00 pm.
Panyaphiphat Building, Mahidol University
Salaya Campus

………………………………

Speakers
Pawinee Chumsri  Thai Lawyers for Human Rights
Sam Zarifi   International Commission of Jurists
A representative from the UN Office of High Commissioner on Human Rights*

* To be confirmed.
The seminar series brings together experts to discuss how the international standards are translated into domestic laws, and how they are protected.

To be discussed in future seminars are (from the International Covenant on Civil & Political Rights, ICCPR)

ICCPR Art 7:  Freedom from Torture
ICCPR Art 9: Right to judicial procedure
ICCPR Art 21:  Right to Peaceful Assembly

Getting to Salaya
From BTS Bang Wa: Salaya Link (van to campus) http://www.music.mahidol.ac.th/salayalink/

From Victory Monument: Bus # 515

Contact: http://www.ihrp.mahidol.ac.th

Start: December 11, 2014
End: December 11, 2014

เสวนา เรื่อง “ทำไมสื่อจึงไม่สนใจตรวจสอบนโยบายรัฐบาลที่นายกรัฐมนตรีแถลงต่อ สนช.”

ชื่องาน :  เสวนา เรื่อง “ทำไมสื่อจึงไม่สนใจตรวจสอบนโยบายรัฐบาลที่นายกรัฐมนตรีแถลงต่อ สนช.”

รายละเอียด :

วันเวลา : พฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม 2557  เวลา 09.30 – 12.30 น

สถานที่ : ห้องประชุมชั้น 3 สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย

เพิ่มเติม :

15325654483_669229228f_b

Start: December 11, 2014
End: December 11, 2014

December 8, 2014

เสนอรายงาน “ถ่านหินสะอาด-ความมั่นคงพลังงาน-วิกฤตโลกร้อน”

ชื่องาน : เสนอรายงาน “ถ่านหินสะอาด-ความมั่นคงพลังงาน-วิกฤตโลกร้อน”

รายละเอียด :

** บริบท **
ในการประชุมภาคีครั้งที่ 20 (COP20) ภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ที่ประเทศเปรูระหว่างวันที่ 9-12 ธันวาคม ที่จะถึงนี้ รัฐบาลไทยมีแผนที่จะประกาศเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตาม “แนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ (NationallyAppropriate Mitigation Actions: NAMAs)” ซึ่งเป็นการประกาศเป้าหมายโดยสมัครใจ ตามข้อตกลงโคเปนเฮเกน (Copenhagen Accord) ที่มีขึ้นจากการประชุม COP ครั้งที่ 15 เมื่อปี 2009
ทั้งนี้ เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่รัฐบาลไทยจะไปประกาศคือ 7% ภายใน 2020 (จากปีฐาน 2005) ในภาวะปกติ และ 20% หากมีการช่วยเหลือจากต่างประเทศ … อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าวยังไม่ค่อยเป็นที่รับรู้และยังไม่ได้รับการถกเถียงกันในวงกว้างในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นที่ว่ารัฐบาลไทยจะมีมาตรการอย่างไรเพื่อให้บรรลุการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามเป้าหมายดังกล่า และใคร ในภาคส่วนไหน จะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายฯ
ขณะเดียวกันในช่วงสองปีที่ผ่านมา กระทรวงพลังงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เริ่มดำเนินการปรับแก้แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP: Power Development Plan) ซึ่งฉบับที่ประกาศใช้ล่าสุดตั้งแต่ปี 2555 คือ PDP2010 แก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 3 ซึ่งในการนี้ กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกาศเจตจำนงค์อย่างชัดเจนที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มขึนอีก 10,000 เมกกะวัตต์ ด้วยเหตุผลว่า ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงราคาถูก ก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักของการผลิตไฟฟ้าของประเทศในขณะนี้กำลังจะหมดไปและมีราคาแพงขึ้น จึงต้องเพิ่มการใช้ถ่านหินเพื่อเพิ่มความมั่นคงทางด้านการผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศ
การผลักดันพลังงานถ่านหินในทางนโยบายนี้ ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเชื่อมโยงกับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยอย่างไร
ในขณะเดียวกัน ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ภาคอุตสาหกรรมและหน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่ผลักดันการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินอย่าง กฟผ. ก็เร่งโปรโมต “ถ่านหินสะอาด” ว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่จะทำให้การผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินสะอาดขึ้น และเร่งการประชาสัมพันธ์ทั้งในสื่อหลักต่างๆ และในชุมชนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อเทคโนโลยีใหม่นี้ แต่ประชาชนจากพื้นที่เป้าหมายการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศเริ่มส่งเสียงคัดค้านโครงการเหล่านี้ พร้อมกับที่เรายังได้ยินข่าวว่าผู้ได้รับผลกระทบจากเหมืองลิกไนต์และโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ ซึ่งเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนที่สุดของการใช้พลังงานถ่านหินของไทยในระยะเวลา 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ยังไม่ได้รับความเป็นธรรมในแง่การชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
** วัตถุประสงค์ **
การเสวนาในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อชวนผู้เข้าร่วมมาสำรวจประเด็นที่มีนัยยะสำคัญต่อการผลักดัน “ถ่านหินสะอาด” ในฐานะคำตอบของความมั่นคงพลังงานไทย ภายใต้บริบทแรงกดดันระดับโลก นั่นคือสถานการณ์วิกฤตโลกร้อนที่กำลังระอุขึ้นเรื่อยๆและทำให้ทั่วโลกกำลังหันหลังให้กับพลังงานถ่านหิน รวมถึงบริบทแรงกดดันจากท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ ที่ไม่ยอมแลกความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพของชุมชน กับมลพิษที่จะเกิดจากการผลิตพลังงานด้วยเชื้อเพลิงถ่านหิน
** กำหนดการ **
13.00-14.00 Pre-screening สารคดี “แม่เมาะ – ถ่านหินสะอาดและความมั่นคงทางพลังงาน”
14.00-15.00 นำเสนอรายงาน “ถ่านหินสะอาด-ความมั่นคงพลังงาน-วิกฤตโลกร้อน”
ผู้นำเสนอ:
ฝ้ายคำ หาญณรงค์         คณะทำงานโลกเย็นที่เป็นธรรม (Thai Climate Justice)
สันติ โชคชัยชำนาญกิจ   กลุ่มจับตาพลังงาน (Energy Watch)
เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์        กลุ่มนิเวศน์วัฒนธรรมศึกษา
ดำเนินรายการ:
กุลธิดา สามะพุทธิ          ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม
15.00-16.00 ถาม-ตอบ
** องค์กรร่วมจัด **
คณะทำงานโลกเย็นที่เป็นธรรม [ThaiClimateJustice]
ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม [GreenNewsTV]

วันเวลา : วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม 2557 * เวลา 13.00-16.00 น.

สถานที่ :

Ma:D Hub for Social Entrepreneurs (มาดี)
เอกมัย ซอย 4 (BTS เอกมัย ทางออกที่ 1)
https://www.facebook.com/madeehub
แผนที่ Google Map: http://goo.gl/maps/3AnFd

เพิ่มเติม :\

15919557316_93743838ca_b

Start: December 8, 2014
End: December 8, 2014
iCal Import