Calendar of Events

Event List Calendar

December 8, 2014

พิธีมอบรางวัล “เภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม” และ เสวนา เรื่อง การปฏิรูประบบผลิตยาเพื่อการพึ่งตนเองของสังคม

ชื่องาน : พิธีมอบรางวัล “เภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม” และ เสวนา เรื่อง การปฏิรูประบบผลิตยาเพื่อการพึ่งตนเองของสังคม

รายละเอียด :

กำหนดการ
13.00-13.30 น.                  ลงทะเบียน
13.30-13.40 น.                  พิธีเปิด โดย ผศ.ภญ.สำลี ใจดี ประธานมูลนิธิเภสัชศาสตร์เพื่อสังคม
13.55-14.30 น.                  มอบรางวัล “เภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม ประจำปี พ.ศ.2557” เภสัชกรหญิงอัจฉรา เอกแสงศรี พร้อมทั้งประกาศเจตจำนง เภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม ประจำปี พ.ศ. 2557
15.00 -17.00 น.                 เสวนา เรื่อง การปฏิรูประบบผลิตยาเพื่อการพึ่งตนเองของสังคม
วิทยากร :
ศ.ดร.ภญ.กฤษณา ไกรสินธุ์
นางสาวกรรณิการ์ กิจติเวชกุล
นพ.มงคล ณ สงขลา
นพ.วิชัย โชควิวัฒน
ผศ.ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี
รศ.ดร.ภญ.จิราพร ลิ้มปานานนท์
หมายเหตุ : การจัดงานประกาศเกียรติคุณเภสัชกรที่ได้รับรางวัลนี้  มูลนิธิฯจะจัดในวันที่ 8 ธันวาคม ของทุกปี เพื่อระลึกถึงวันสถาปนาวิชาชีพเภสัชกรรมและการศึกษาเภสัชศาสตร์ (แผนปัจจุบัน) ในประเทศสยาม เมื่อวันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2456 และร่วมขบวนการสานต่อพัฒนาวิชาชีพเภสัชกรรมเพื่อรับใช้สังคมอย่างสืบเนื่องต่อไป

วันเวลา : วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เวลา 13.00 น.

สถานที่ : เรือนจุฬานฤมิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ถนนพญาไท  กทม. แผนที่สถานที่จัดงานตามเอกสารแนบ http://www.facebook.com/ftawatch

เพิ่มเติม :

Start: December 8, 2014
End: December 8, 2014

สัมมนา เรื่อง “พันธกิจของรัฐในการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ”

ชื่องาน : สัมมนา เรื่อง “พันธกิจของรัฐในการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ”

รายละเอียด :

วันเวลา : วันจันทร์ที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๗ ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐

สถานที่ :  ห้องรับรอง ๑ – ๒ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๒

เพิ่มเติม :

รายละเอียดโครงการ

 

๑. หลักการและเหตุผล

การส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายและขจัดการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงเป็นพันธกิจของรัฐตามที่ได้ลงนามเป็นภาคีอนุสัญญาขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (CEDAW) หรืออนุสัญญาผู้หญิงโดยรัฐภาคีมีหน้าที่จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานตามอนุสัญญาฯ ทุก ๆ ๔ ปี โดยในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ผู้แทนไทยได้ไปรายงานต่อคณะกรรมการอนุสัญญาฯ ในการประชุมครั้งที่ ๓๔ ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

ในการประชุมดังกล่าวคณะกรรมการอนุสัญญาฯ มีข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลไทยโดยมีประเด็นสำคัญคือ ให้รัฐภาคีพิจารณาทบทวนบทบัญญัติกฎหมายทั้งหมด เพื่อให้สอดคล้องอย่างเต็มที่ต่อบทบัญญัติทั้งหลายแห่งอนุสัญญา และปฏิบัติได้อย่างเต็มที่ในระบบนิติบัญญัติของประเทศสมาชิกและให้รัฐภาคีบรรจุคำนิยามที่สมบูรณ์ของการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทั้งโดยตรงและโดยอ้อมไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งชาติ หรือในกฎหมายว่าด้วยความเท่าเทียมทางเพศที่กำลังยกร่างอยู่ในปัจจุบัน ให้สอดคล้องกับอนุสัญญาข้อที่ ๑ แห่งอนุสัญญานี้  นอกจากนี้ คณะกรรมการอนุสัญญาฯ ขอเรียกร้องให้รัฐภาคีจัดการฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับอนุสัญญานี้ และพิธีสารเพิ่มเติม ให้แก่ นักกฎหมาย ทนายความ ผู้พิพากษา และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในการยกร่าง และบังคับใช้กฎหมาย และเพื่อพัฒนาศักยภาพของสตรีในการอ้างสิทธิอันพึงมีพึงได้ทั้งมวล คณะกรรมการอนุสัญญาฯ มีความกังวลว่า ถึงแม้มาตรา ๓๐ ในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐  ให้การรับรองสิทธิอันเท่าเทียมกันระหว่างสตรีและบุรุษ แต่ยังไม่มีบทบัญญัติที่ระบุ   คำนิยามของการเลือกปฏิบัติต่อสตรี ที่สอดคล้องกับข้อที่ ๑ แห่งอนุสัญญานี้ ในการที่จะห้ามไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทั้งโดยตรงและโดยอ้อม

ในโอกาสที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติกำลังพิจารณาร่างพระราชบัญญัติความเท่าเทียมทางเพศ พ.ศ. …. และทุกภาคส่วนมีภารกิจร่วมกันในการดำเนินการปฏิรูปประเทศไทยรวมถึงพัฒนาร่างรัฐธรรมนูญใหม่  คณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะกรรมาธิการปฏิรูปสังคม ชุมชน เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส       สภาปฏิรูปแห่งชาติ สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านความเสมอภาคระหว่างเพศ ในคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย โครงการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายในรัฐธรรมนูญใหม่และการปฏิรูปประเทศไทย (WOMEN REFORM) สมาคมติดตามการพัฒนาสตรีในประเทศไทย และองค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและการเสริมพลังของสตรีแห่งสหประชาชาติ (UN Women) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการจัดเวทีสัมมนาเรื่อง “พันธกิจของรัฐในการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ” เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนและให้ข้อมูลโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนของผู้หญิง

 

๒. วัตถุประสงค์

๒.๑  เพื่อให้ข้อมูลพันธกิจของรัฐต่อความเสมอภาคระหว่างเพศโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนของผู้หญิง  โดยเฉพาะในบริบทของการยกร่างกฎหมาย และกระบวนการปฏิรูป

๒.๒  เพื่อให้ภาคประชาสังคมแลกเปลี่ยนข้อมูลพันธกิจของรัฐต่อความเสมอภาคระหว่างเพศกับสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

 

๓. วิธีการดำเนินงาน

โครงการเวทีสัมมนาเรื่อง “พันธกิจของรัฐในการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ” เป็นเวทีเพื่อให้ข้อมูลพันธกิจของรัฐต่อความเสมอภาคระหว่างเพศโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน และแลกเปลี่ยนข้อมูลพันธกิจของรัฐต่อความเสมอภาคระหว่างเพศกับสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โครงการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายในรัฐธรรมนูญใหม่และการปฏิรูปประเทศไทย (WOMEN REFORM) สมาคมติดตามการพัฒนาสตรีในประเทศไทย และเครือข่ายผู้หญิงเพื่อความก้าวหน้าและสันติภาพ ตลอดจนประชาชนที่สนใจทั่วไป

 

๔. กลุ่มเป้าหมาย

สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โครงการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายในรัฐธรรมนูญใหม่และการปฏิรูปประเทศไทย (WOMEN REFORM) สมาคมติดตามการพัฒนาสตรีในประเทศไทย เครือข่ายผู้หญิงเพื่อความก้าวหน้าและสันติภาพ ประชาชนที่สนใจ และสื่อมวลชน จำนวน ๑๒๐ คน

 

๕. วัน เวลา และสถานที่

วันจันทร์ที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๗ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องรับรอง ๑ – ๒ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๒

 

๖.  ผู้รับผิดชอบ

– คณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดำเนินงานโดยคณะอนุกรรมาธิการกิจการสตรี

– คณะกรรมาธิการปฏิรูปสังคม ชุมชน เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส สภาปฏิรูปแห่งชาติ

– คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านความเสมอภาคระหว่างเพศ ในคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย

– สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

– โครงการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายในรัฐธรรมนูญใหม่และการปฏิรูปประเทศไทย (WOMEN REFORM)

– สมาคมติดตามการพัฒนาสตรีในประเทศไทย

– องค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและการเสริมพลังของสตรีแห่งสหประชาชาติ (UN Women)

 

๗. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลพันธกิจของรัฐต่อความเสมอภาคระหว่างเพศโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนกับสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กับโครงการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายในรัฐธรรมนูญใหม่และการปฏิรูปประเทศไทย (WOMEN REFORM) สมาคมติดตามการพัฒนาสตรีในประเทศไทย เครือข่ายผู้หญิงเพื่อความก้าวหน้าและสันติภาพ และภาคประชาสังคม

Start: December 8, 2014
End: December 8, 2014

December 4, 2014

เสวนา ‘เหลียวหลังแลหน้าสถานการณ์คนจน’

ชื่องาน : เสวนา ‘เหลียวหลังแลหน้าสถานการณ์คนจน’

รายละเอียด :

เวทีเสวนา “หลากหลายมุมมองต่อสถานการณ์คนจน”

วิทยากร
รองศาสตราจารย์สมชาย ปรีชาศิลปกุล
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อาจารย์เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว
สถาบันสิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม

อาจารย์วีรบูรณ์ วิสารทสกุล
คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อาจารย์วิทยา อาภรณ์
สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ผู้ดำเนินรายการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุสรณ์ อุณโณ

ปาฐกถา
“สิทธิมนุษยชนในสังคมไทย : ปัญหาและทางออก”

นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ
กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

การอภิปรายเวทีเปิด
“มองไปข้างหน้าสถานการณ์คนจน”

ดำเนินรายการโดย : จักรพงษ์ ธนวรพงศ์ และ เจษฎา โชติกิจภิวาทย์

วันเวลา : วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม 2557 เวลา 08.00-15.15 น.

สถานที่ : ห้องประชุมประกอบ หุตะสิงห์ อาคารอเนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

เพิ่มเติม :

15745535157_bbe89b4c7c_b

Start: December 4, 2014
End: December 4, 2014

December 2, 2014

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ กรุงเทพฯ เมืองเดินได้

ชื่องาน : การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ กรุงเทพฯ เมืองเดินได้

รายละเอียด :

09:00 -09:15น.  ลงทะเบียน
09:15 -09:30น.  แนะนำโครงการเมืองเดินได้-เมืองเดินดี โดย ผศ.ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ
09:30 -10:00น.  ประเด็นหารือที่ 1 : ความคิดเห็นต่อการเดินเท้าในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลในปัจจุบัน
10:00 -10:30น.  ประเด็นหารือที่ 2 : แนวทางการปรับปรุงพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลให้เป็นเมืองเดินได้-เมือง
เดินดี
10.30 -11.45น.  พักรับประทานอาหารว่าง
10.45 -11.15น.  เสนอผลการศึกษาและพัฒนาแผนที่ศักยภาพการเข้าถึงสาธารณูปการที่ส่งเสริมการ
เดินเท้า โดยศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง
11:15 -11:45น.  ประเด็นหารือที่ 3 : ความคิดเห็นต่อโครงการเมืองเดินได้-เมืองเดินดี
11:45 -12:15น.  ประเด็นหารือที่ 4 : ความคิดเห็นต่อการปรับปรุงพื้นที่นำร่องที่มีศักยภาพเพื่อเป็นตัวอย่างของพื้นที่เมือง
เดินดี
12:15 -12:30น.  ร่วมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม
อภิปรายสรุปการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
12:30น.  รับประทานอาหารกลางวัน

วันเวลา : วันอังคารที่ 2 ธันวาคม 2557 เวลา 9:00-12:30 น.

สถานที่ : โรงแรมโนโวเทลกรุงเทพ สยามสแควร์

เพิ่มเติม :

15871139581_db303238f8_b

Start: December 2, 2014
End: December 2, 2014

December 1, 2014

งานเสวนา “ภาษีที่ดินและมรดก: ใครมี ใครจ่าย ใครได้ประโยชน์”

ชื่องาน : งานเสวนา “ภาษีที่ดินและมรดก: ใครมี ใครจ่าย ใครได้ประโยชน์”

รายละเอียด :

นำเสนอรายงานเจาะประเด็นโดย ผศ.ดร.ดวงมณี เลาวกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นโดย
1.ดร.ปัณณ์ อนันอภิบุตร สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง
2.ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด

ดำเนินรายการโดย อ.ดร.ภาวิน ศิริประภานุกูล

วันเวลา : วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม 2557 เวลา 13.30 – 15.30 น.

สถานที่ : ห้อง 101 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)

เพิ่มเติม :

10521981_610068245789594_6549063105883156713_n

Start: December 1, 2014
End: December 1, 2014

สัมมนา เรื่อง “การครอบงำสื่อสาธารณะของรัฐ”

ชื่องาน : สัมมนา เรื่อง “การครอบงำสื่อสาธารณะของรัฐ”

รายละเอียด :

จัดโดย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ร่วมกับองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน

8.00 – 8.45 น.                   ลงทะเบียน
8.45 – 9.00 น.                    กล่าวเปิดงานสัมมนา
โดย คุณประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)

9.00 – 10.20 น.                 ช่วงที่ 1 นำเสนองานวิจัย “การครอบงำสื่อสาธารณะของรัฐ”
โดย ดร. เดือนเด่น นิคมบริรักษ์  ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
คุณธิปไตร แสละวงศ์ นักวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
และ คุณบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการ บริษัท ทุนภัทร จำกัด (มหาชน)
ผู้ดำเนินรายการ: ผศ. รุจน์  โกมลบุตร อาจารย์คณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
10.20 – 12.00 น.               ช่วงที่ 2 เสวนา: เครื่องมือป้องกันการแทรกแซงสื่อสาธาณะของรัฐ
โดย คุณประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ นายกสมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
คุณวิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ อดีตนายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
คุณพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
และ ผศ. ดร. พิรงรอง รามสูต รณะนันทน์ อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
12.00 – 12.30 น.               สรุปการสัมมนา และถาม-ตอบ

12.30 น.                           ปิดการสัมมนา  รับประทานอาหารเที่ยง

วันเวลา : วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เวลา 8.00 – 12.30 น.

สถานที่ : ห้องซาลอน A ชั้น 2 โรงแรมสวิสโซเตล เลอ คองคอร์ด กรุงเทพฯ

เพิ่มเติม :

Start: December 1, 2014
End: December 1, 2014

November 30, 2014

วิทยานิพนธ์เสวนา นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์

ชื่องาน : วิทยานิพนธ์เสวนา นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์

รายละเอียด :

วันเวลา :  วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน 2557  เวลา 10.00-17.00 น.

สถานที่ : ห้อง 222 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

เพิ่มเติม :

หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันความรู้ในสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์เชื่อมโยงกันมากขึ้น วิชานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์มีเนื้อหาในบางแง่มุมที่สัมพันธ์กัน เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ สถาบันการเมือง การเมืองการปกครอง เศรษฐศาสตร์การเมือง ตลอดจนนโยบายสาธารณะ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิชาการและนักศึกษาของคณะนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ และคณะเศรษฐศาสตร์ได้แลกเปลี่ยนและพัฒนาเชื่อมโยงความรู้ของทั้งสามสาขาไปด้วยกัน จึงสมควรจัดเสวนาวิชาการร่วมกันระหว่างสามคณะ
รูปแบบงานเสวนา
คณะจัดงานวิทยานิพนธ์เสวนาคัดเลือกวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตของคณะนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ และคณะเศรษฐศาสตร์ ที่มีเนื้อหาคาบเกี่ยวกันในสามสาขาวิชาดังกล่าวมาอภิปราย โดยให้ผู้เขียนนำเสนอโดยย่อ จากนั้นให้นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญจากสามสาขาวิชาวิจารณ์และร่วมแลกเปลี่ยนความรู้
วิทยานิพนธ์เสวนาระหว่างคณะนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ จัดขึ้นทุกปี โดยทั้งสามคณะเวียนกันเป็นผู้จัดงาน เปิดให้นักศึกษา อาจารย์ และบุคคลทั่วไปเข้าฟัง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อบูรณาการความรู้ในวิชานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์
2. เพื่อให้นักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาได้ทราบวิธีการเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์และแนวทางการเขียนวิทยานิพนธ์
3. เพื่อให้นักศึกษาและอาจารย์ ในสาขานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้
กำหนดการ วิทยานิพนธ์เสวนาประจำปี 2557
วิทยานิพนธ์จากคณะนิติศาสตร์
10.00 น. – 10.20 น.
“มโนทัศน์เกี่ยวกับกฎหมายจารีตประเพณีทางรัฐธรรมนูญ”
นำเสนอโดย
กฤษณ์ วงศ์วิเศษธร
10.20 น.-11.00 น.
วิจารณ์โดย
ศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
11.00 น.-11.20 น.
“การใช้กำลังทหารล้มล้างรัฐธรรมนูญ ศึกษาสถานะและผลทางกฎหมายของการยึดอำนาจ 19 กันยายน 2549”
นำเสนอโดย
พุฒิพงศ์ มานิสสรณ์
11.20-12.00
วิจารณ์โดย
รศ.ดร.ไชยยันต์ รัชชกูล
คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วิทยานิพนธ์จากคณะรัฐศาสตร์
13.00 น. -13.20 น.
“ทีดีอาร์ไอกับวาทกรรมเศรษฐกิจไทย”
นำเสนอโดย
เอกสิทธิ์ หนุนภักดี
13.20 น. -14.00 น.
วิจารณ์โดย
ผศ. ปกป้อง จันวิทย์
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
14.00 น. -14.20 น.
“ธรรมนูญหมู่บ้านเรื่องการเลือกตั้ง ศึกษาหมู่บ้านเสียงแคน อำเภอดอกคูน จังหวัดขอนแก่น”
นำเสนอโดย
เกวลี ศรีหะมงคล,
14.20 น. -15.00 น.
วิจารณ์โดย
ผศ.ดร.อภิชาต สถิตนิรามัย
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วิทยานิพนธ์จากคณะเศรษฐศาสตร์
15.00 น. -15.20 น.
“บทสำรวจเงินโอนจากผู้ย้ายถิ่นภายในประเทศ (Reinvestigating Remittance Motivations Based on Thailand’s Socioeconomic Survey)
นำเสนอโดย
ชานนท์ เตชะสุนทรวัฒน์
15.20 น. -16.00 น.
วิจารณ์โดย อาจารย์วิโรจน์ อาลี
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
16.00 น. -16.20 น.
“นโยบายจากธนาคารแห่งประเทศไทยกับการพัฒนาภาคการเงินไทยในช่วงพ.ศ. 2505-2539″ (Bank of Thailand Financial Policies and Financial Development in Thailand 1962-1996)
นำเสนอโดย ปรเมศร์ รังสิพล
16.20 น. -17.00 น.
วิจารณ์โดย
ผศ.ดร.จันทจิรา เอี่ยมมยุรา
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดำเนินรายการโดย อาจารย์ ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
w
Start: November 30, 2014
End: November 30, 2014

November 28, 2014

[28-30 พ.ย.] สัมมนานานาชาติประจำปีครั้งที่ 5 เรื่อง “Constitutional Moments, Turning Points and Legacies in the Formation of Political Communities in Historical Perspectives”

ชื่องาน :  [28-30 พ.ย.] สัมมนานานาชาติประจำปีครั้งที่ 5 เรื่อง “Constitutional Moments, Turning Points and Legacies in the Formation of Political Communities in Historical Perspectives”

รายละเอียด :

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนโยบายสาธารณะและธรรมาภิบาล เยอรมัน-อุษาคเนย์
(German-Southeast Asian Center of Excellence for Public Policy
and Good Governance (CPG) ขอประชาสัมพันธ์งานสัมมนานานาชาติประจำปีครั้งที่ 5 เรื่อง
“Constitutional Moments, Turning Points and Legacies in the Formation of Political Communities in Historical Perspectives”
ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28-30 พ.ย. ณ โรงแรม Lebua at State Tower Hotel

Concept Note
The international, three-day conference deals with path breaking moments of constitutional history and their impact on the further development of the changing political order reflected in hegemonic or counter-hegemonic, dominant or underlying discourses, structures and normative concepts.
Papers will be presented with reference to national and regional experiences in Europe,
the Middle East and Asia, namely Croatia, the European Union, Germany, Hungary, India,
Indonesia, Iraq, Italy, Japan, Malaysia, Portugal, and South Korea.

รายนามวิทยากร : Speaker’s List
Hon. Slavica Banic,
Justice, Constitutional Court of the Republic of Croatia, Croatia,
Prof. Dr. Andras Bozoki,
Department of Political Science, Central European, Hungary,
Prof. Dr. Ingwer Ebsen,
Faculty of Law, Frankfurt University, Germany,
Prof. Dr. Dirk Ehlers,
Faculty of Law, Muenster University, Germany,
Prof. Andreas Follesdal,
Faculty of Law, Oslo University, Norway,
Dr. Fanar Haddad,
Middle East Institute, National University Singapore, Singapore,
Dr. Nadirsyah Hosen,
School of Law, Wollongong University, Australia,
Prof. Dr. Andrew Eungi Kim,
Graduate School of International Studies, Korea University,
Professor Hoong Phun Lee,
Sir John Latham Chair of Law, Monash University, Australia,
Prof. Dr. Antonio Costa Pinto,
Institute of Social Science, University of Lisbon, Portugal,
Prof. Dr. Nobuyuki Sato,
Chuo Law School, Chuo University, Japan,
Dr. Ronojoy Sen,
Institute for South Asian Studies, National University of Singapore, Singapore, and
Prof. Dr. Alberto Vespaziani,
Faculty of Law, University of Molise, Italy.

วันเวลา : 28-30 พ.ย. 2557

สถานที่ :  โรงแรม เลอบัว แอท เสตท ทาวเวอร์

เพิ่มเติม :

*ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าฟังการสัมมนา
**การสัมมนาดำเนินไปเป็นภาษาอังกฤษ โดยมีล่ามแปลภาษาให้ตลอดงานสัมมนา

ดูรายละเอียดตารางการสัมมนา และลงทะเบียนเข้าร่วมสัมนาได้ที่
Agenda and Online registration
http://www.cpg-online.de/index.php?p=news&area=1&newsid=164

 

ผู้รับผิดชอบการสัมมนา : Organizer
-ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนโยบายสาธารณะและธรรมาภิบาล เยอรมัน-อุษาคเนย์
(German-Southeast Asian Center of Excellence for Public Policy
and Good Governance (CPG)

Start: November 28, 2014
End: November 28, 2014

November 27, 2014

บรรยายสาธารณะ หัวข้อ “ยุคมืด ของประวัติศาสตร์ไทย หลังบายน พุทธเถรวาท การเข้ามาของคนไท”

ชื่องาน : บรรยายสาธารณะ หัวข้อ “ยุคมืด ของประวัติศาสตร์ไทย หลังบายน พุทธเถรวาท การเข้ามาของคนไท”

รายละเอียด :

วิทยากรร่วมด้วย : คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ | รศ.สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ | ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล | ดร.พจนก กาญจนจันทร | ดร.ศานติ ภักดีคำ | ดร.ปริวรรต ธรรมาปรีชากร | อ.ธิบดี บัวคำศรี | อ.ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ และ อ.พิพัฒน์ กระแจะจันทร์

วันเวลา : พฤหัสที่ 27 พฤศจิกายน 2557 เวลา 08.30-17.00 น.

สถานที่ : ห้อง 107 (ริมน้ำ) คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

เพิ่มเติม : (ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย)

10665373_798309653545825_4205865457669035021_n

Start: November 27, 2014
End: November 27, 2014

November 20, 2014

เสวนา “ที่ดิน เหลื่อมล้ำ ภาษี” ก้าวที่ต้องร่วมเลือก

ชื่องาน : เสวนา “ที่ดิน เหลื่อมล้ำ ภาษี” ก้าวที่ต้องร่วมเลือก

รายละเอียด :

วันเวลา : 18.00-20.00 วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน 2557

สถานที่ : The Reading Room สีลม 149

เพิ่มเติม :

10418947_1498480383749868_4653807759692075219_n

Start: November 20, 2014
End: November 20, 2014
iCal Import