ชื่องาน : เสวนา เรื่อง “เกาะติดมาตรการต่อต้านคอร์รัปชันของรัฐบาลประยุทธ์”
วันเวลา : วันพุธที่ 18 มีนาคม 2558 เวลา 9.00 – 13.00 น.
สถานที่ : ห้อง Ballroom II ชั้น 3 โรงแรม ดิ เอมเมอรัล ถ.รัชดาภิเษก
เพิ่มเติม : ผู้ที่สนใจ สามารถดาวน์โหลดในตอบรับลงทะเบียนได้ ที่นี่
และส่งใบตอบรับกลับมาที่คุณลดาพรรณ อีเมล: lad@tdri.or.th โทรสาร: 0-2718-5461-2 ภายในวันที่ 16 มีนาคม 2558
(งานเสวนานี้รับจำนวนจำกัด)
รายละเอียด :
9.00 – 9.30 น. ลงทะเบียน
9.30 – 9.45 น. กล่าวเปิดการเสวนา
โดย คุณวิชัย อัศรัสกร รองประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)
9.45 – 11.45 น. เสวนา เรื่อง “เกาะติดมาตรการต่อต้านคอร์รัปชันของรัฐบาลประยุทธ์”
หัวข้อที่ 1 “ภาพรวมของมาตรการต่อต้านคอร์รัปชัน”
โดย คุณบรรยง พงษ์พานิช กรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ
หัวข้อที่ 2 “สำรวจความคืบหน้าการออกมาตรการต่อต้านคอร์รัปชัน”
โดย คุณธิปไตร แสละวงศ์ นักวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
หัวข้อที่ 3 “การควบคุมอำนาจใช้ดุลยพินิจของรัฐ”
โดย ดร. มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)
หัวข้อที่ 4 “การควบคุมการใช้เงินแผ่นดิน”
โดย คุณธนกร จ๋วงพานิช อนุกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ
หัวข้อที่ 5 “การควบคุมอำนาจผูกขาดในระบบเศรษฐกิจ”
โดย ดร. เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
หัวข้อที่ 6 “การเพิ่มต้นทุนและความเสี่ยงให้กับพฤติกรรมคอร์รัปชัน”
โดย คุณธิปไตร แสละวงศ์
ดำเนินรายการ โดย ดร. เดือนเด่น นิคมบริรักษ์
11.45 – 12.15 น. ช่วงถาม – ตอบ
12.15 น. ปิดการสัมมนา
12.15 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
——————-
กรอบเนื้อหาของการเสวนา
ในการแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติและประชาชนในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่าหนึ่งในนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญคือการส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาลและการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ พร้อมแจกแจงประเด็นต่างๆ ที่รัฐบาลจดำเนินการตามเป้าหมายนี้ ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงระบบราชการและการให้บริการของหน่วยงานรัฐ การปรับปรุงกฎระเบียบว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต หรือเพิ่มความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างและการใช้จ่ายเงินภาครัฐ ฯลฯ
ด้วยเหตุนี้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยและองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) จึงเห็นว่า ได้เวลาที่ภาคประชาชนและวิชาการจะต้องติดตามความคืบหน้าว่า ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา รัฐบาลพลเอกประยุทธได้ออกมาตรการใดบ้างที่สอดคล้องกับนโยบายที่เคยประกาศไว้และข้อเสนอของภาคประชาชน
การเสวนาครั้งนี้จะเน้นติดตามมาตรการต่อต้านคอร์รัปชันในสี่ส่วนหลัก ได้แก่
1) มาตรการในการจำกัดหรือควบคุมอำนาจในการใช้ดุลพินิจของรัฐ เช่น ในการออกใบอนุญาตหรือตรวจสอบต่างๆ ซึ่งเป็นช่องทางให้เจ้าหน้าที่รัฐเรียกรับสินบน อันเป็นการเพิ่มภาระให้กับภาคเอกชนและประชาชน
2) มาตรการกำกับและควบคุมการใช้เงินแผ่นดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่รัฐบาลประกาศโครงการปรับปรุงโครงข่ายการคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ของประเทศที่ใช้งบประมาณมูลค่ามหาศาล
3) มาตรการควบคุมการใช้อำนาจผูกขาดในระบบเศรษฐกิจ ทั้งอำนาจผูกขาดของรัฐผ่านการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ และอำนาจผูกขาดของบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ที่สร้างความร่ำรวยให้กับคนกลุ่มเล็กๆ เช่น นักการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการบางกลุ่ม แต่สร้างความเสียหายแก่ผู้บริโภคซึ่งต้องใช้สินค้าและบริการในราคาแพงแต่ด้อยคุณภาพโดยไม่มีทางเลือก
4) มาตรการเพิ่มต้นทุนและความเสี่ยงให้กับพฤติกรรมคอร์รัปชัน เช่น การปรับปรุงกฎระเบียบให้ภาคประชาชนเข้าถึงข้อมูลของรัฐได้รวดเร็วมากขึ้น การสร้างความเข้มแข็งให้องค์กรอิสระว่าด้วยการตรวจสอบคอร์รัปชัน ภาคประชาชนและสื่อ และบทลงโทษที่รุนแรงมากขึ้นควบคู่ไปกับการบังคับใช้กฎหมายที่จริงจัง จะทำให้นักคอร์รัปชันตั้งคำถามว่า “คุ้มที่จะเสี่ยง” หรือไม่