Calendar of Events

Event List Calendar

March 13, 2015

‘2 ทศวรรษปากมูน’ ครั้งที่ 2 บนเส้นทางการต่อสู้ของคนหาปลา

ชื่องาน :‘2 ทศวรรษปากมูน’ ครั้งที่ 2 บนเส้นทางการต่อสู้ของคนหาปลา

รายละเอียด :

วันเวลา : วันที่ 13 – 16 มีนาคม 2558 เวลา 08.30 – 16.30 น.

สถานที่ : ห้องประชุม ศอข. โขงเจียม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี และที่ สี่พันดอน จำปาศักดิ์ สปป.ลาว

16702584351_dd284d37c0_b

วันที่ 13 มีนาคม 2558
08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน รับเอกสาร
09.00 – 10.00 น. พิธีเปิด
กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วม / รายงานความเป็นมาของจัดงาน
โดย : ดร.ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์
กล่าวเปิดงาน เวทีสาธารณะ 2 ทศวรรษปากมูน ฯ ปาฐกถา “การละเมิดสิทธิมนุษยชนข้ามพรมแดน”
โดย : นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
10.00 – 12.30 น. เวที วิพากษ์นโยบายการพัฒนาลุ่มน้ำโขง “แผนงาน / โครงการสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขง”
นำเสนอ : นโยบาย / แผนงานการพัฒนาลุ่มน้ำโขง “การสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขง”
โดย : ผู้แทนจาก MRC
โดย : ผู้แทนจากกรมทรัพยากรน้ำ
ร่วมวิพากษ์โดย โดย : นักวิชาการ
โดย : ชาวบ้านปากมูล  (ประสบการณ์คัดค้านเขื่อนปากมูล)
โดย : คุณยรรยงค์  ศรีเจริญ หัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำจืด WWFประเทศไทย
โดย : คุณชลิดา ทาเจริญศักดิ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศักยภาพชุมชน
โดย : ผู้แทนจากภาคประชาสังคมไทย
ดำเนินรายการโดย คุณอารีวรรณ จตุทอง
12.30 – 13.30 น. รับประทานอาหารเที่ยง / วีดีทัศน์แม่น้ำโขง
13.30 – 15.30 น. เวที วิพากษ์ “กลไกแม่น้ำโขง(MRC)/กระบวนการเกี่ยวกับแม่น้ำโขง (PNPCA)”
นำเสนอ : กลไกแม่น้ำโขง (MRC) และกระบวนการเกี่ยวกับแม่น้ำโขง (PNPCA)
โดย : ผู้แทนจาก MRC
โดย : ผู้แทนจากกรมทรัพยากรน้ำ
ร่วมวิพากษ์โดย โดย : นักวิชาการ
โดย : ชาวบ้านปากมูล (ประสบการณ์คัดค้านเขื่อนปากมูล)
โดย : คุณยรรยงค์  ศรีเจริญ หัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำจืด WWFประเทศไทย
โดย : คุณชลิดา ทาเจริญศักดิ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศักยภาพชุมชน
โดย : ผู้แทนจากภาคประชาสังคมไทย
ดำเนินรายการ โดย ดร.อลงกรณ์  อรรคแสง : วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.สารคาม
15.30 – 16.00 น.  ปัจฉิมกถา “แม่น้ำโขง มหานทีแห่งชีวิต ไร้พรมแดน”
โดย : ผศ.ดร.จิตรกร  โพธิ์งาม : รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎ
อุบลราชธานี
16.00 – 17.30 น. ล่องเรือสัมผัสความงาม “แม่น้ำมูน และแม่น้ำโขง มหานทีเพื่อชีวิต”
17.30 เป็นต้นไป ร่วมสวดมนต์เย็น “ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับพี่มดและผู้เสียชีวิต”(ศูนย์ภูมิปัญญาไทบ้านปากมูน)

วันที่ 14 มีนาคม 2558
07.30 – 09.00 น. ทำบุญตักบาตรนักสู้ปากมูน(พี่มดและทุกคน) (ศูนย์ภูมิปัญญาไทบ้าน ฯ)
09.00 – 10.00 น. พิธีสืบชะตาแม่น้ำ (บริเวณแม่น้ำสองสีปากมูน) / อ่านคำประกาศวันหยุดเขื่อนโลก
10.00 – 12.00 น. แผนการณ์รณรงค์ และเครือข่ายเพื่อปกป้องแม่น้ำโขง
โดย : ระดมจากผู้เข้าร่วมในเวที
ดำเนินรายการ โดย : คุณกฤษกร ศิลารักษ์
12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง
13.00 – 15.00 น. จัดทำคำประกาศแม่น้ำสองสี / ประกาศเจตนารมณ์
15.00 – 16.30 น. ลงทะเบียนผู้ที่จะลงพื้นที่ดอนสะโฮง
18.00 เป็นต้นไป เวทีให้ข้อมูลเขื่อนแม่น้ำโขง เขื่อนดอนสะโฮง (เวทีหน้าที่ว่าการอำเภอโขงเจียม)
กำหนดการลงพื้นที่ “สี่พันดอน” บริเวณที่คาดว่าจะก่อสร้างเขื่อนดอนสะโฮง สปป.ลาว

วันที่ 15 มีนาคม 2557
08.00 น. พิธีการทางศุลกากร (ตรวจคนเข้า – ออกประเทศ)
11.00 น.  เดินทางถึงน้ำตกคอนพระเพ็ง ดูสภาพพื้นที่คอนพะเพ็ง
12.00 น. รับประทานอาหารเที่ยงที่น้ำตกคอนพระเพ็ง
13.30 น. เป็นต้นไป เดินทางโดยเรือ เข้าพื้นที่ ฮูสะดำ , ฮูสะโฮง และ ฮูช้างเผือก
16.30 น. เดินทางไปบ้านนากะสังข์ ดู “ตลาดปลา”
18.00 น. เข้าที่พัก (ดอนโขง/ดอนเดช)
19.00 น. ทานอาหารเย็น

วันที่ 16 มีนาคม 2557
08.00 น. รับประทานอาหารเช้าในโรงแรมที่พัก / เก็บสัมภาระ
09.30 น.  เป็นต้นไป เดินทางโดยเรือ เข้าพื้นที่น้ำตกหลี่ผี
12.00น. รับประทานอาหารเที่ยง
13.00 น. เดินทางออกจากพื้นที่สู่เมืองปากเซ
15.00 น. รับฟังข้อมูล “เขื่อนดอนสะโฮง” จากตัวแทนรัฐบาล สปป.ลาว
17.30 น. เดินทางถึงด่านชายแดนช่องเม็ก เข้าสู่พิธีศุลกากร (ตรวจคนเข้า – ออกประเทศ)
18.00 น. เดินทางกลับภูมิลำเนา (แยกย้าย / บางส่วนกลับ / บางส่วนพักต่อ)

วัตถุประสงค์การเดินทางไปดูพื้นที่
1. เพื่อดูช่องนำไหล ที่จะเป็นทางเดินทางของปลาจากด้านท้ายแนวการก่อสร้างเขื่อนดอนสะโฮง ว่าหากมีการปิดฮูสะโฮงแล้ว ปลาจะสามารถเดินทางในช่องทางใด ได้บ้าง ดังนั้นจึงต้องดูช่องทางน้ำผ่านทุกช่องทาง เพื่อเปรียบเทียบกัน
2. เพื่อดูสภาพการดำรงวิถีชีวิต การประกอบอาชีพประมงของคนในบริเวณ “สี่พันดอน”
3. เพื่อจะได้ทราบข้อมูล แนวคิด ของรัฐบาล สปป.ลาว ต่อการสร้างเขื่อนดอนสะโฮง
…………………………….

องค์กรร่วมจัด
1. คณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
2. กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3. ฝ่ายพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
4. WWF ประเทศไทย
5. มูลนิธิศักยภาพชุมชน
6. มูลนิธิประชาสังคม จังหวัดอุบลราชธานี
7. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคอีสาน (กป.อพช.อีสาน)
8. เครือข่ายสลัม 4 ภาค
9. ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.)
10. เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.)
11. โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษานานาชาติ ม.ขอนแก่น (Ciee ประเทศไทย)
12. กองทุนตามเจตนารมณ์ วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์
13. คณะกรรมการชาวบ้านเพื่อฟื้นฟูชีวิตและชุมชนลุ่มน้ำมูน (ชชช.)

Start: March 13, 2015
End: March 13, 2015

March 12, 2015

[12-13 มี.ค.] เวทีเสวนาสร้างผลกระทบทางสังคม

1780919_1069608079720518_3924628240649128217_n

Start: March 12, 2015
End: March 12, 2015

March 9, 2015

แถลงข่าว 99 ปี ป๋วย อึ๊งภากรณ์ พร้อมฟังปาฐกถา “เทคโนแครต กับ เศรษฐกิจไทย”

ชื่องาน : แถลงข่าว 99 ปี ป๋วย อึ๊งภากรณ์ พร้อมฟังปาฐกถา “เทคโนแครต กับ เศรษฐกิจไทย”

วันเวลา : จันทร์ 9 มีนาคม 2558 เวลา 13.30-16.00

สถานที่ : โถงทางเข้าหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

รายละเอียด :

13.30 น. ลงทะเบียน
14.00 น.
– กล่าวต้อนรับ โดย ศ.เกียรติคุณ เพ็ชรี สุมิตร ราชบัณฑิต ประธานมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
– กล่าวเปิดงาน โดย ศ.(พิเศษ) ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ผู้ปาฐกถาป๋วย อึ๊งภากรณ์ ครั้งที่ 11 ประจำปี 2552 กรรมการและเลขานุการมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
– แผนกิจกรรมโครงการรำลึก 100 ปี ชาตกาล ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (จัดทำหนังสือชุด และเสวนา 100 ปี ชาตกาล ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ พุธที่ 9 มีนาคม 2559 ณ หอประชุมศรีบูรพา มธ.) โดย ผศ.ปกป้อง จันวิทย์ คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ บรรณาธิการจัดทำหนังสือรำลึก 100 ปี ชาตกาล ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์
– เปิดตัวเว็บไซต์-อีไลบรารี มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คลังหนังสือและเอกสารดิจิตอล เพื่อมอบให้เป็นสาธารณะสมบัติ ให้ประชาชนเข้าถึงฟรี จัดทำขึ้นในวาระครบรอบ 100 ปี ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (2459-2559) ผู้ก่อตั้งมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาตร์ และครบรอบ 50 ปี (2509-2559) มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาตร์และมนุษยศาสตร์ โดย ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ประธานหลักสูตรรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการมูลนิธิโครงการตำราฯ (www.textbooksproject.com)
14.40 น. ปาฐกถา “เทคโนแครต กับ เศรษฐกิจไทย” เนื่องในวาระครบรอบ 99 ปี ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (2459-2558) โดย ผศ.ดร.อภิชาต สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาค และเศรษฐศาสตร์การพัฒนา
15.40 น. เปิดนิทรรศการ “คนชื่อป๋วย” (A Man Called Puey) ประวัติ ผลงาน และเกียรติยศ จัดแสดงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ MBE ที่ ศ.ดร.ป๋วย ได้รับพระราชทานจากพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร จากวีรกรรมเสรีไทย สู่สาธารณะชนเป็นครั้งแรก พร้อมจัดแสดงรางวัลรามอน แมกไซไซ หรือโนเบลสาขาสันติภาพแห่งเอเชีย เชิดชูเกียรติคุณความดีสูงสุดในการทำงานเพื่ออุทิศตนทำงานบริการประชาชนในสังคมประชาธิปไตย
ร่วมเปิดนิทรรศการโดย
(1) ศ.เกียรติคุณ เพ็ชรี สุมิตร ราชบัณฑิต
(2) คุณจอน อึ๊งภากรณ์
(3) ศ.(พิเศษ) ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
(4) ดร.ธาริษา วัฒนเกส
(5) คุณเตือนใจ ดีเทศน์
(6) คุณกาญจนาภรณ์ จิตต์สง่า
พิธีกรตลอดงาน คุณอดิศักดิ์ ศรีสม
จัดโดย มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Start: March 9, 2015
End: March 9, 2015

สัมมนา “ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม : สังคมได้อะไร ?”

ชื่องาน : สัมมนา “ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม : สังคมได้อะไร ?”

รายละเอียด :

จัดโดย คณะกรรมาธิการสังคมฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ร่วมอภิปรายโดย

  •  เมธินี เทพมณี  ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  •  สุรางคณา วายุภาพ  สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
  •  ดิสทัต โหตระกิตย์  สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
  •  สฤณี อาชวานันทกุล  ประธานเครือข่ายพลเมืองเน็ตฯ

ดำเนินการอภิปรายโดย มณเฑียร บุญตัน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และรองประธานคณะกรรมาธิการสังคมฯ

วันเวลา : วันจันทร์ 9 มีนาคม 2558 09:00

สถานที่ : ณ ห้องรับรอง 1 – 2 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 2

เพิ่มเติม :

Start: March 9, 2015
End: March 9, 2015

March 8, 2015

เสวนา “ผู้หญิง เสรีภาพ และการแสดงออก”

10989975_450261051790369_1701002352876195043_n

Start: March 8, 2015
End: March 8, 2015

March 2, 2015

เสนอบทความวิชาการ “Effectiveness of Capital Controls : Evidence from Thailand”

ชื่องาน : เสนอบทความวิชาการ “Effectiveness of Capital Controls : Evidence from Thailand”

รายละเอียด : โดย ผศ.ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์

วันเวลา : จันทร์ที่ 2 มีนาคม 2558 เวลา 9.30 น.เป็นต้นไป

สถานที่ : ห้องประชุมชั้น 5 คณะเศรษฐศาสตร์ ท่าพระจันทร์

เพิ่มเติม :

Start: March 2, 2015
End: March 2, 2015

February 28, 2015

เสวนา “ปาตานีในยุค รัฐบาลเบ็ดเสร็จ:วงรอบ 2 ปี28กุมภา”เจรจา”หรือว่าพูดคุย” ในวาระครบรอบ 2 ปี การเจรจาสันติภาพปาตานี/ชายแดนใต้

ชื่องาน : เสวนา “ปาตานีในยุค รัฐบาลเบ็ดเสร็จ:วงรอบ 2 ปี28กุมภา”เจรจา”หรือว่าพูดคุย” ในวาระครบรอบ 2 ปี การเจรจาสันติภาพปาตานี/ชายแดนใต้

รายละเอียด :

กำหนดการเสวนา
13.00 น. – 13.30 น. ลงทะเบียน / รับเอกสาร
13.30 น. – 14.00 น. กล่าววัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมการเปิดพื้นที่สาธารณะ เพื่อเสวนาพูดคุยร่วมกัน โดย สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ นักศึกษาธรรมศาสตร์
14.00 น. – 15.30 น. ร่วมเสวนาหัวข้อ ปาตานีในยุครัฐบาลเบ็ดเสร็จ:วงรอบ 2 ปี 28 กุมภา “เจรจา”หรือว่า “พูดคุย” โดย ดอน ปาทาน ปาตานี ฟอรั่ม และ ตูแวดานียา ตูแวแมแง สำนักปาตานีรายาเพื่อสันติภาพและการพัฒนา (LEMPAR)
                               ดำเนินการเสวนาโดย พุธิตา ชัยอนันต์ นักกิจกรรมทางสังคม
15.30 น. – 16.00 น. ร่วมแลกเปลี่ยนโดย ผู้เข้าร่วมรับฟังการเสวนาและสรุปการเสวนา

วันเวลา : วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13.00 น. – 16.00 น.

สถานที่ : ห้องประชุมกิจกรรมนักศึกษาชั้น 2มหาวิทยาลยัธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์

เพิ่มเติม :

16645327455_5f9ebb6921_z

Start: February 28, 2015
End: February 28, 2015

February 27, 2015

ความทรงจำแห่งการด้อยพัฒนา : ตรรกะแห่งรัฐฆาต

ชื่องาน : ความทรงจำแห่งการด้อยพัฒนา : ตรรกะแห่งรัฐฆาต

รายละเอียด :

“Memory of Underdevelopment: The logic of democide” (ความทรงจำแห่งการด้อยพัฒนา : ตรรกะแห่งรัฐฆาต) โดยมีวิทยากรรับเชิญ คือ Ms.Saren Keang นักวิจัยอิสระชาวกัมพูชาเจ้าของผลงาน Life under the Khmer Rouge : A compilation of stories of the Khmer Rouge’s survivors who are now living in Siem Reap and Kratie (2015) และ คุณไซราม ประกายกิจ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 โครงการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วันเวลา : 15:30 วันที่ 27 ก.พ.58

สถานที่ : อาคารเอรกประสงค์1 ห้อง 803 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)

เพิ่มเติม :

10991644_1593227407555936_8320343282431712679_o

Start: February 27, 2015
End: February 27, 2015

งานมหกรรมวิชาการทางสังคมศาสตร์แห่งชาติ ประจำปีการศึกษา 2557 การปฏิรูปทางการเมือง เพื่อความงาม ความเจริญ และความเป็นธรรม

ชื่องาน : งานมหกรรมวิชาการทางสังคมศาสตร์แห่งชาติ ประจำปีการศึกษา 2557 การปฏิรูปทางการเมือง เพื่อความงาม ความเจริญ และความเป็นธรรม

รายละเอียด :

วิทยากรเสวนาทางวิชาการ โดย
      ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ยาวะประภาษ
     ศาสตราจารย์ ดร.เกษียร เตชะพีระ
     รองศาสตราจารย์ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์
     คุณอธึกกิต แสวงสุข (ใบตองแห้ง)
     คุณนิมิตร สิทธิไตรย์
ผู้ดำเนินรายการ โดย ดร.ณรุจน์ วศินปิยมงคล

วันเวลา : 27 ก.พ. 2558 9.00-12.00 น.

สถานที่ : อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา ม.อุบลราชธานี

เพิ่มเติม :

Start: February 27, 2015
End: February 27, 2015

February 26, 2015

[26 ก.พ.-6 มี.ค.] เทศกาลมรดกภาพยนตร์นานาชาติในประเทศไทย

ชื่องาน : [26 ก.พ.-6 มี.ค.] เทศกาลมรดกภาพยนตร์นานาชาติในประเทศไทย

รายละเอียด :

หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ MEMORY Cinema Association, Technicolor Foundation for Cinema Heritage, สถานเอกอัครราชฑูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย และ สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ จัดงานเทศกาลมรดกภาพยนตร์นานาชาติในประเทศไทย (Memory! International Film Heritage Festival – 2nd edition – REPRISE in Thailand) ซึ่งจะจัดฉายภาพยนตร์เรื่องสำคัญของโลกที่ได้รับการบูรณะ ในธีม “หัวเราะ” ในวันศุกร์ที่ ๒๖ ก.พ. – ศุกร์ที่ ๖ มี.ค. พ.ศ.๒๕๕๘ โดยในวันธรรมดาจะจัดฉายที่ สมาคมฝรั่งเศส ถ.วิทยุ เวลา ๑๙.๐๐ น. ส่วนวันเสาร์ – อาทิตย์ จัดฉายที่หอภาพยนตร์ ถ.พุทธมณฑลสาย ๕ เวลา ๑๓.๐๐ และ ๑๕.๐๐ น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างไร ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.fapot.org หรือ โทร ๐๒-๔๘๒-๒๐๑๓ – ๑๔ ต่อ ๑๑๑

เทศกาลมรดกภาพยนตร์นานาชาติ MEMORY! เกิดขึ้นเมื่อปี ๒๐๑๒ โดยจัดขึ้นมาแล้ว ๒ ครั้งในเดือน มิถุนายน ๒๐๑๓ และ ๒๐๑๔ ที่ประเทศกัมพูชา ความสำเร็จที่ผ่านมาของเทศกาลนี้ ทำให้คณะผู้จัดงาน MEMORY! สนใจที่จะจัดงานนี้ในประเทศอื่นๆ ในอาเซียน และพวกเรายินดีอย่างยิ่งที่ปีนี้ประเทศไทยจะได้มีโอกาสได้ชมภาพยนตร์คลาสสิกในอดีต

เทศกาลมรดกภาพยนตร์นานาชาติ MEMORY! ภูมิใจที่จะนำเสนอภาพยนตร์ที่ได้รับการคัดสรรมาแล้วจำนวน ๑๑ เรื่องจากรอบโลก อาทิเช่น สหรัฐอเมริกา มองโกเลีย ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น อังกฤษ และประเทศอื่นๆอีกมากมาย ภาพยนตร์ทุกเรื่องมีคำบรรยายเป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทย ภาพยนตร์บางเรื่องมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติอยู่แล้วและบางเรื่องจะถูกเผยแพร่ในต่างประเทศเป็นครั้งแรกในงานนี้ ตลอดทั้งเทศกาลในประเทศไทย เราจะนำท่านเดินทางย้อนสู่อดีต และคุณจะทึ่งว่าหนังเก่าเหล่านี้จริงๆแล้วทันสมัยมากแค่ไหน

ความตั้งใจในการสร้างเทศกาลภาพยนตร์ที่อุทิศให้กับภาพยนตร์เก่าเหล่านี้ เพื่อเป็นการให้ความสำคัญกับการเก็บรักษาความทรงจำ และเพื่อให้ผู้ชมได้มีโอกาสเข้าถึงมรดกของชาติและมนุษยชาติ คนรุ่นใหม่ควรมีโอกาสเป็นอย่างยิ่งที่จะได้เข้าถึงมรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นผลงานชิ้นใหญ่หรือชิ้นเล็ก เป็นเรื่องแต่งหรือสารคดี เป็นภาพยนตร์ข่าวยาวหรือสั้น ภาพยนตร์ทุกเรื่องล้วนแล้วแต่ควรได้รับเก็บรักษาอย่างดี นั่นหมายถึงกระบวนการสะสมภาพยนตร์ และตามหาภาพยนตร์ที่ใกล้จะสูญหาย แล้วนำมาเก็บรักษาอย่างดี ในสถานที่ที่เหมาะสม โดยต้องคำนึงถึงความชื้นและการควบคุมความร้อน ภาพยนตร์บางเรื่องโชคดีสามารถกู้กลับมาให้อยู่ในสภาพเดิมได้ แต่อย่างไรก็ตามภาพยนตร์กว่า ๙๐%ทั่วโลกที่ถูกสร้างขึ้นก่อนปี ๑๙๒๙ ได้หายสาบสูญไปหมด เช่นเดียวกันกับภาพยนตร์อเมริกันที่ถูกสร้างขึ้นก่อนปี ๑๙๕๐

ที่ผ่านมามีเทศกาลภาพยนตร์ที่อุทิศให้กับภาพยนตร์เก่าจำนวนน้อยมาก ส่วนใหญ่จะจัดขึ้นในยุโรป และสหรัฐอเมริกา เช่น เทศกาล Il Cinema Ritrovato ที่เมืองโบโลญญา เทศกาล Lumière ทีเมืองลีญง และเทศกาล MoMA Film Preservation Festival ที่เมืองนิวยอร์ค และนี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม เทศกาลมรดกภาพยนตร์นานาชาติ MEMORY! จึงเกิดขึ้นในปี ๒๐๑๒ ด้วยความร่วมมือของ NGOS MEMORY Cinema Association และ Technicolor Foundation เพื่อองค์กร Cinema Heritage ซึ่งในปีนี้จะจัดเทศกาลมรดกภาพยนตร์นานาชาติในเอเชียเป็นครั้งแรก
กำหนดการจัดฉายภาพยนตร์
๒๖ ก.พ. เวลา ๑๘.๓๐ น. พิธีเปิด และฉาย Trip to the Moon (๑๙๐๒) และThe Circus (๑๙๒๘)
๒๗ ก.พ. เวลา ๑๙.๐๐ น. The Lady Killers (๑๙๕๕)
๒๘ ก.พ. เวลา ๑๓.๐๐ น. Happy Anniversary (๑๙๖๒) และ The Great Love (๑๙๖๙)
เวลา ๑๕.๐๐ น.  Before Rising Up the Ranks (๑๙๖๕)
๑ มี.ค.   เวลา ๑๓.๐๐ น. Play Time (๑๙๖๗)
เวลา ๑๕.๐๐ น. The General (๑๙๒๗)
๒ มี.ค.  เวลา ๑๙.๐๐ น. น้ำตาลไม่หวาน (Sugar is not Sweet) (๑๙๖๔)
๓ มี.ค.  เวลา ๑๙.๐๐ น. Happy Anniversary (๑๙๖๒) และ The Great Love (๑๙๖๙)
๔ มี.ค.  เวลา ๑๙.๐๐ น. Play Time (๑๙๖๗)
๕ มี.ค.  เวลา ๑๙.๐๐ น. Good Morning (๑๙๕๙)
๖ มี.ค.  เวลา ๑๙.๐๐ น. Safety Last (๑๙๒๓)

10255124_10152676066181699_1013486672097807921_n
Start: February 26, 2015
End: February 26, 2015
iCal Import